walker นักเดินทางด้วยเท้า

 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  |  
 ตะกร้าสินค้า (0)

รอบรู้เมืองลาว    เวียงจันทน์   ตำนานโขง  หลวงพระบาง  งานแข่งเรือ  วัดต่างๆ ในหลวงพระบาง  จำปาสัก    โปรแกรมเที่ยวหลวงพระบาง (Root) 2010122_47288.gif 

 

(Root) 2009720_38140.gif

(Root) 201031_63768.jpg

(Root) 2009716_37570.jpg     (Root) 2010122_47288.gif


จำปาเมืองลาว
หากมาเยือนประเทสลาวแล้วชาวไทยหลายคนคงจะพอนึกถึง เพลงลาวเพลงหนึ่งที่มีชื่อว่า “โอ้ดวงจำปา” ตามเนื้อร้องท่อนแรกว่า       “โอ้ดวงจำปา เวลาซมน้อง นึกเห็นพันซ้อง” ที่มีนักร้องไทยหลายคน นำมาร้อง แท้จริงแล้วเพลงนี้มีชื่อว่า “เพลงจำปาเมืองลาว”
แต่ครั้งแรกเริ่มนั้นดอกจำปาของลาวนั้นนิยมปลูกกันในวัด ด้วยเพราะกลิ่นของดอกนั้นช่วยลดความกำหนัดของ พระ เณร ที่บวชใหม่ ประกอบกับประเทศลาวนั้นเป็นเมืองพุทธศาสนาที่มีวัดเป็น จำนวนมาก จึงทำให้มองไปทางไหนก็จะพบต้นจำปาเต็มไปหมด
เพลงจำปาเมืองลาว มีหลักฐานกล่าวว่าแต่งขึ้นเมื่อประมาณ คศ.1945 เนื้อร้อง ประพันธ์โดย ท่านมะหาพูมี จิตพง ส่วนทำนองนั้น แต่งโดยท่านมะหาอุตะมะ จุลมะนี อดีตรมช.กระทรวงศึกษาลาว ท่านอุตะมะเป็นนักคิดนักเขียน ร่วมสมัยเดียวกับท่านอัสนี พลจันทร์ ซึ่งเพลงนี้แต่งขึ้นในช่วงที่ท่านเข้าร่วมขบวนการต่อสู้กู้เอกราช คืนจากฝรั่งเศส เพื่อสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวให้กับประชาชนลาว ซึ่งอยู่ภายใต้อาณานิคมของฝรั่งเศส โดยท่านอุตมะได้ใช้ดอกจำปา ที่ชาวลาวนิยมปลูกแต่ในอดีตเป็นสื่อบอกถึงความรักแผ่นดินถิ่นเกิด ของชาวลาว และใช้ทำนอง “ขับทุ้มหลวงพระบาง” ในการเอื้อนเพลง  เพลงนี้ได้แผ่ขยายไปอย่างรวดเร็วและสร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับ ชาติลาวในที่สุด ต่อมาภายหลังฝรั่งเศสคืนเอกราชให้กับประเทศลาว ได้ปกครองตนเอง และหลังจากการปฏิวัติม่วนซื่นในลาวเสร็จสิ้นลง เมื่อปี 2518 ท่านผู้นำลาวทั้งหลายก็ได้พร้อมใจกันเลือก ดอกจำปา เป็นดอกไม้ประจำชาติ ซึ่งตลอดสองฝั่งโขงจากลาวเหนือที่พงสาลี จรดจำปาสักที่ปากเซชาวลาวต่างก็นิยมขับทุ้มเพลงนี้เป็นอย่างยิ่ง
“จำปาลาว” นั้นบ้านเราแต่เดิมเรียก “ลั่นทม” ตามตำนาน หนึ่งของไทยเหนือเล่าที่มาของชื่อต้นไม้นี้ว่า ได้มีหญิงสาวนางหนึ่ง ถูกกีดกันในความรักจากญาติฝ่ายชาย ด้วยความเศร้าเสียใจจึงมา ผูกคอตายจบชีวิตลงใต้ต้นไม้นี้ จึงเป็นที่มาของต้น “ระทม” และแผลง มาเป็น “ลั่นทม” และเปลี่ยนเป็น “ลีลาวดี” ตามลำดับ
ลีลาวดีมีชื่อเรียกในต่างถิ่นต่างที่แตกต่างกัน โดยมีชื่อสามัญ ว่า เฟรนจิพานี (Frangipani) และมีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า พลูมีเรีย (Plumeria SSP.) นอกจากนี้มีตำนานเกี่ยวกับชื่อสามัญ เฟรนจิพานี (Frangipani) ว่า “ในสมัย ค.ศ. 1547-1589 มีพระคาธอลิกรูปหนึ่งชื่อว่า แฟรนจิพานี เป็นผู้เชี่ยวชาญในการผสมหัวน้ำหอม ได้ปรุงน้ำหอม ขึ้นกลิ่นหนึ่งมีกลิ่นหอมรัญจวนใจเป็นที่อย่างยิ่ง  แฟรนจิพานีจึงนำ น้ำหอมนั้นไปถวายพระนางเจ้า แคเทอรีน เดอ เมดิจิ ซึ่งเป็นพระมเหสี ของกษัตริย์เฮนรี่ ที่ 2 แห่งประเทศฝรั่งเศส ครั้นต่อมามีผู้พบเห็น ดอกลั่นทม ซึ่งมีกลิ่นคล้ายคลึงกับน้ำหอมที่พระแฟรนจิพานีปรุงถวาย พระนางเจ้าแคเทอรีน ก็เลยพระราชทานชื่อดอกลั่นทมว่า แฟรนจิพานี ส่วนชื่อที่ใช้เรียกขานในแต่ละท้องถิ่นมีมากมาย อย่างใน บลาซิล เรียก Jasmin de Cayenne ในอเมริกากลาง เรียก Amapola de Venus โคลัมเบีย เรียก Azuceno หรือ Floron เม็กซิโก เรียก Suchil เขมร เรียก จำไป, จำปาซอ, จำปาขอม มาเลเซีย เรียก กำโพธา, จำปากะ ฟิลิปปินส์  เรียก กาลาชูช อินโดนิเซีย เรียก กำโบจา หรือ กำโพชา อินเดีย เรียก พหูล จีน เรียก กางนายสิน หรือแม้แต่ในประเทศไทย เองยังเรียกผิดแผกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น อย่างภาคอีสาน เรียก จำปาขาว  ภาคใต้เรียกจำปาขอม, ไม้จีน  สุรินทร์ บุรีรัมย์ เรียก จำไป เชียงใหม่-เชียงราย เรียก จำปาลาว  ชุมชนชาวกะเหรี่ยงที่กาญจนบุรี เรียก จงป่า ส่วนภาคกลางเรียก ลั่นทมหรือลีลาวดี..


(Root) 2009729_41593.jpg(Root) 2009729_41607.jpg
(Root) 2010122_47288.gif

จำปา มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนแถบ อเมริกาใต้ อเมริกากลาง และหมู่เกาะแคริบเบียน แล้วกระจายพันธุ์ไปยังพื้นที่โดยรอบบริเวณ หมู่เกาะบาฮามัส เม็กซิโก จาไมก้า คิวบา เวเนซูเอลา โคลัมเบีย บลาซิล ฯลฯ แล้วความนิยมยังมิได้สะดุดหยุดลงตรงแค่นั้น ยังขยายกลายเป็น ศูนย์รวมสายพันธุ์ที่ยิ่งใหญ่ในอเมริกา โดยเฉพาะที่ฮาวาย ถือเป็นแหล่ง รวบรวมลีลาวดีหลากหลายสายพันธุ์จากทั่วทุกมุมโลก...
ส่วนการเข้ามาของลีลาวดีในภูมิภาพเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังไม่มีหลักฐานปรากฏที่แน่ชัด หากแต่เป็นเพียงข้อสันนิษฐาน 2 – 3 แนวทางที่พอมีเค้ามูล กล่าวคือ... ในราวพุทธศตวรรษที่ 17 โดยผ่าน เข้ามาทางเขมร สมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 (พ.ศ.1650 – 1700) กษัตริย์ ผู้ทรงสร้างนครวัด แล้วกระจายเข้าสู่ประเทศลาว อันน่าจะเป็นที่มา ของชื่อเมืองจำปาสักและนครจำปาศรี
อีกข้อสันนิษฐานหนึ่งกล่าวว่าน่าจะเข้ามาทางปากแม่น้ำโขง เพราะมีอาณาจักรโบราณแห่งหนึ่งอยู่ในเวียดนามชื่ออาณาจักร “จาม” หรือ “จามปา” มีชนชาติจาม คือ ผู้ที่อพยพเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ แล้วถูกเรียกว่า “แขกครัว” หรือ “แขกบ้านครัว” เป็นเจ้าของอาณาจักร
นอกจากนี้ชื่อ “จำปา” หรือ “จัมปา” มีความเกี่ยวข้องกับชื่อเมือง “นครกาลจำบากนาคบุรีศรี” ในลาวภาคใต้สมัยโบราณต่อมาเชื้อสาย ราชวงศ์ลาวเวียงจันทน์อพยพไปตั้งบ้านเมืองใหม่ ยังใช้ชื่อเค้าเดิมว่า “นครจำปาศักดิ์นัคบุรี” หรือที่เรียกกันทุกวันนี้ว่า “แคว้นจำปาสัก” หรือแม้ชื่อพระนาง “จามเทวี” เชื้อสายราชวงศ์ละโว้ (ลพบุรี) ที่ขึ้นไป ครองเมืองหริภุญไชย (ลำพูน) ก็น่าเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับชนชาติจาม และชื่อจำปาหรือจัมปานี้เอง...
อีกข้อสันนิษฐานเชื่อว่าลีลาวดีเข้าสู่ประเทศไทยตั้งแต่ในสมัย กรุงศรีอยุธยาราว พ.ศ.2260 ซึ่งตรงกับสมัยพระเจ้าท้ายสระที่มีการ ติดต่อค้าขายกับสเปน โดยทหารสเปนที่เข้ามายึดฟิลิปปินส์เป็นอาณา นิคม ได้นำลั่นทมมาจากอาณานิคมแถบละตินอเมริกาผ่านเข้ามาทาง ฟิลิปปินส์และเข้าสู่ไทยผ่านทางกัมพูชาเมื่อพระเจ้าท้ายสระได้ขยาย อำนาจไปยังอาณาจักรขอมเดิมโดยดอกจำปาลาวนั้นจะมีลักษณะ ดอกเล็ก ขาวอมเหลืองส้ม และส่งกลิ่นหอมมาก
ทั้งนี้จึงขอหยิบยกเนื้อเพลงจำปาเมืองลาวมาหัดร้องและวิจักษ์ ในวรรณศิลป์ที่งดงามทางภาษาของชาวลาว ก่อนอื่นท่านผู้อ่านจะต้อง ทำความเข้าใจก่อนว่า ภาษาลาวกับภาษาไทยนั้นมีความคล้ายกัน แต่ความหมายบางทีแตกต่างกันไกล ดังตัวอย่างที่ได้หยิบยกมา คือ หญิงชาวลาวนั้นจะนิยมแซมดอกจำปาไว้ที่ช้องผม (ซ้องผม ตามเสียง ภาษาลาว) สังเกตได้ในเพลง ท่อนแรกที่ว่า “โอ้ดวงจำปา เวลาซมน้อง นึกเห็นพันซ้อง มองเห็นหัวใจ เฮานึกขึ้นได้ ในกลิ่นเจ้าหอม” นั้น หมายถึง เมื่อเห็นดอกจำปาแล้ว ผู้เขียนได้นึกถึงช้องผมของผู้หญิง ชาวลาวที่เกล้าผมและมักจะทัดดอกจำปาลาว ซึ่งเป็นการเกริ่นนำ ก่อนเข้าบทเพลงซึ่งอุปมาว่าดอกจำปานั้นคือหญิงสาวอันเป็นที่รัก
(Root) 2010122_47288.gif

(Root) 2009716_37403.jpg


เพลงนี้ฟังเพลินๆ อย่าคิดมากล่ะ(Root) 2010122_47288.gif

(Root) 2009730_54607.jpg(Root) 2009730_54596.jpg

พระธาตุอิงฮัง สะหวันนะเขต

    พระธาตุอิงฮัง (ต้นฮัง หมายถึงต้นสาละ)  ตั้งอยู่ที่เมืองคันทะบุลี แขวงสะหวันนะเขด ประมาณ 15 กิโลเมตร ระหว่างเส้นทาง สะหวันนะเขต-เซโน สร้างใน สมัยอาณาจักรศรีโคตรบอง หรือโคตรบูรณ์ ประมาณพ.ศ.400 สมัยพระเจ้าสุมิตธรรมวงศา โดยสร้างขึ้นตามคำแนะนำของสมณทูต สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ครั้งแรกได้สร้างเป็นธาตุกู่ 2 และได้อัญเชิญ พระบรมสารีริกธาตุ กระดูกสันหลัง ของพระพุทธเจ้าจากกรุงราชคฤก มาประดิษฐานไว้ภายในกู่ธาตุเพื่อเป็นเครื่องหมายแทนสถานที่ปรินิพพาน ขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้หญิงไม่สามารถเข้าไปบริเวณฐานพระธาตุได้
    ส่วนตำนานพระอุรังคธาตุ นั้นกล่าวไว้ในสมัยพุทธกาลว่า องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จเปิดโลกและรับอาราธนามาฉันภัตตาหาร ที่บริเวณนี้ ต่อมาพระเจ้าพระเจ้าสุมิตธรรมวงศา กษัตริย์ผู้ปกครอง อาณาจักรศรีโคตรบองเป็นผู้สร้างพระธาตุองค์นี้และตั้งชื่อว่าพระธาตุอิงฮัง เมื่อถึงศตวรรษที่ 9 อาณาจักรศรีโคตรบองเริ่มอ่อนแอลง ชนชาติขอม ได้รุกเข้ามามีอำนาจในบริเวณนี้ ทำให้พระธาตุอิงฮังจึงถูกดัดแปลงเป็น เทวสถานของศาสนาฮินดูโดยพระเจ้าสุมนธาธิราชราชา และต่อเติม องค์พระธาตุ ตกแต่งลวดลายประติมากรรมเป็นเรื่อง เมถุนสังวาส และรามายนะนับแต่นั้นมาลักษณะศิลปกรรมของพระธาตุอิงฮังจึงเป็น ศิลปะผสมขอมโบราณ พร้อมกับเรียกชื่อว่า อินทรปราสาท
    ต่อมาในศตวรรษที่ 14 ชนชาติลาวได้เข้ามามีอำนาจแทนขอม สมัยพระโพธิสารราชแห่งอาณาจักรล้านช้าง ได้นำพุทธศาสนิกชน บูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุพนม พระธาตุอิงฮัง พระธาตุโพนคึมใหญ่ จนถึงสมัยพระเจ้าไซยะเสดถาธิราชได้ต่อเติมศิลปะล้านช้างเข้าไป ในองค์พระธาตุอิงฮัง และเสริมยอดดวงปี ดัดแปลงให้เป็นพระธาตุ ทางพระพุทธศาสนา โดยฐานพระธาตุแต่ละด้านกว้าง 9 เมตร สูง 25 เมตร ปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบัน
    และทุกปีจะมีการจัดงานเฉลิมฉลองพระธาตุอิงฮัง ในช่วงเวลา ใกล้เคียงกับงานเฉลิมฉลองพระธาตุพนมฝั่งไทย ตามตำนานโบราณ การสร้างพระธาตุในแถบลุ่มน้ำโขงที่มีความเชื่อมโยงถึงกัน
    บางตำนานกล่าวว่าเมื่อครั้งที่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมา ฉันภัตตาหารบริเวณนี้ และได้ฉันภัตตาหารที่ทำจากหมู แต่อาหาร เป็นพิษ ชุมชนบ้านธาตุอิงฮัง จึงไม่มีใครเลี้ยงหมูจนถึงปัจจุบัน
    พระธาตุอิงฮัง มีลักษณะ เป็นสี่เหลี่ยม ย่อมุมเหมือนปราสาท แสดงลักษณะเจดีย์แบบผสมวิหาร มีประตูไม้เข้าออกได้ องค์พระธาตุ มีฐานลดหลั่นกัน 3 ลำดับ โดย ฐานล่างและฐานกลางเป็นศิลปะ ขอมดั้งเดิมสร้างทับพระธาตุเก่า ส่วนฐานบนและยอดเจดีย์เป็นศิลปะ แบบล้านช้าง

(Root) 2009717_45896.gif

ปู่เยอ-ย่อเยอ


ตามตำนานเล่าว่า มีเมืองๆ หนึ่ง ชื่อว่า เมืองแถน ในเขตบ้านหนองตู้ ได้เกิดมีเครือเขากาดยักษ์เครือหนึ่ง (เถาวัลย์) จากฟ้าบดบังแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ ทำให้ชาวบ้านไ้รับความเดือดร้อน ด้วยความมืดมัวและหนาวเย็น ชาวบ้านจึงหาวิธีตัดเครือเขากาดยักษ์นี้ได้ แต่ก็ไม่มีใครอาสาไปตัด ต่อมาไม่นาน ก็มีคนเฒ่าสองผัวเมีย คือ ปู่เยอ ย่าเยอ มีสัตว์เลี้ยงคือสิงห์แก้ว มีความยินดีอาสาตัดเครือเขากาดยักษ์นั้น จากนั้นทั้สองก็มุ่งหน้าไปที่หนองตู้ทันที พร้อมด้วยขวานขนาดใหญ่ พวกเขาใช้เวลาตัดทั้งกลางวันและกลางคืนเป็นเวลา 3 เดือน 3 วัน จึงสามารถตัดเครือเขากาดนั้นลงได้แต่ด้วยความเศร้าโศกเสียดายยิ่ง เครือเขากาดยักษ์ได้ล้มทับเฒ่าทั้งสองตายทันที ในที่สุดแสงสว่างก็กับมาสู่ผืนแผ่นดินอีกครั้งหนึ่ง นำเอาความอบอุ่นมาสู่มวลมนุษย์ พฤกษา และสัตว์ทั้งหลาย การดำรงชีวิตเริ่มกับคืนสู่ความเป็นปกติอีกครั้งหนึ่ง ชาวบ้านจึงได้จัดงานศพแก่ปู่เยอ ย่าเยอ อย่างสมเกียรติ นับแต่นั้นเป็นต้นมา เพื่อเป็นการระลึกคุณงามความดีของปู้เยอ ย่าเยอ คนลาวจึงเพิ่มคำห้อยท้ายว่า เยอ ๆ ในคำพูดของตนเสมอ เช่น ในคำว่า ไปเยอ เมือเยอ มาเยอ ทั้งได้ทำหุ่นหรือรูปสัญลักษณ์ของทั้งสองไว้ ให้สักการะ นับถือ สืบต่อกันมา จนถึงทุกวันนี้ท่านผู้นี้เป็นผู้รักษาเทวดาหลวง ปีหนึ่งมีสองครั้ง ในโอกาสบุญปีใหม่ บุญธาตุหลวง ท่านจะเรียกปู่เยอ ย่าเยอ และสิงห์แก้ว ออกจากหีบเพื่อเข้าร่วมพิธีต่างๆ ทุกๆ ปี ก่อนจะฉลองปีใหม่ จะนำปู่เยอ ย่าเยอ ออกจากหีบที่รักษาไว้ อยู่ที่หอเทวดาหลวง ในบริเวณวัดอาฮาม เพื่อไหว้และถวายเครื่องทาน ปู่เยอ ย่าเยอ จะเข้าร่วม ทุกๆ พิธี ที่จัดขึ้นตามฮีตคองประเพณี ในระยะบุญปีใหม่ โดยเฉพาะในการแห่หว่อ รดสรงพระบาง ในโอกาสนี้ ปู่เยอ ย่าเยอ จะออกมาฟ้อน เพื่อความสมบูรณ์พูนสุขของประชาชน พิธีแห่ปู่เยอ ย่าเยอ และสิงห์แก้ว ไปตักน้ำในริมน้ำคานเพื่อเอาไป รดสงพระบาง น้ำที่เอามาจากน้ำคาน จะบรรจุไว้ในไหดิน ซึ่งจะให้เยาวชนแบกไปเพื่อไปสรงพระบาง ปู่เยอ ย่าเยอ จะลงไปตักน้ำคาน เพื่อไปสงพระบาง พร้อมขบวนแห่ ในพิธีนี้จะเอาน้ำใส่ไหดินให้เยาวชนแบก ได้ทำพิธีที่ริมน้ำคาน นำดอกไม้ ธูป เทียน บูชา กล่าวสูตรคำขวัญ เป็นประจำทุกปี พิธีจะทำในตอนเย็นก่อนวันที่จะมีการแห่หว่อ สิงห์แก้ว เป็นสิงห์โตน้อยตัวหนึ่ง ที่ปู่เยอ ย่าเยอ เอามาเลี้ยง และถือเป็นลูกนี้หมายความว่า มนุษย์พวกเราสามารถคุ้มครองบรรดาสัตว์ และธรรมชาติ เพื่อนำมาใช้เป็นประโยชน์ได้ เมื่อแห่หว่อ หรือนางสังขาร เข้าพิธีสูตรขวัญ แต่งอาหาร บอกกล่าว คอบ ให้ปู่เยอ ย่าเยอ สิงห์แก้ว เตรียมพิธี ลงมาจากกุฏิ ฝึกซ้อมท่าเต้นตามจังหวะกลอง แล้วไปกราบไหว้ธาตุเข็ด ธาตุคำ ที่อยู่ด้านหน้าพุทธสีมา ก่อนออกเดินไปถึงวัดเชียงทอง ทำพิธีไหว้จุดธูปเทียนบูชาก่อนที่กำแพงวัดสุวรรณคีรีตรงทางเข้าวัดเชียงทอง และบริเวณด้านข้างวัดเชียงทอง โดยมีขบวนของปู่เยอ ย่าเยอ เป็นนางหว่อน้อยเดินนำขบวน หนุ่มและสาวถือต้นหมากเบง แต่งกายเสื้อสีขาว นุ่งโจงกระเบน แม่หญิงนุ่งชุดลาวสวยงาม ตามด้วยขบวนทหารซึ่ง ชุดทหารสีน้ำเงิน แดง ใส่หมวกสีแดง เข้าร่วมเดินขบวนปู่เยอ ย่าเยอด้วย ในบุญปีใหม่ แห่หว่อ นางสังขาร จากนั้นก็มีทหารแต่งชุดเขียวแดง แบกกลอง ตีกลองตามจังหวะหลังจากเลี้ยงปู่เยอ ย่าเยอแล้ว เทวดาหลวงทั้งสอง และสิงแก้วสิงคำ จะลุก ขึ้นมาฟ้อน ที่บริเวณวัดเชียงทอง ท่ามกลางเสียงฆ้อง เสียงกลอง เพื่อความอุดม มั่งมี ของประชาชน มีผู้คนวิ่งมาขอดึงป่านขนของปู่เยอ ย่าเยอ ไปเป็นของค้ำของคูน แต่ว่าดึงไม่ค่อยขาดเพราะป่านเหนียว เวลาเดินในขบวนนั้น ปู่เยอ ย่าเยอ และสิงห์แก้ว สิงห์คำ นั้นถอดรองเท้า เดินด้วยเท้าเปล่าตลอด อากาศร้อน ถนนก็ร้อน ฉะนั้นจึงมีการเอาน้ำมารด มักจะรดน้ำลงไปที่เท้าเสมอเพื่อไม่ให้เท้าร้อนเกินไป และเท้าก็เต้นไป ตามจังหวะกลอง ต่อเนื่อง กันไปเสมอ และหยอกล้อกับประชาชมผู้เข้าร่วมงาน โดยการเดินเข้าไปใกล้ แล้ว ร้องเสียงดัง ทำให้ผู้คนตื่นตกใจ สิงห์แก้ว จังหวะการเต้น ลุกนั่ง ตั้งสัมพันธ์กันเสมอเพราะทำให้ดูสวยงามเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สิงห์แก้ว สิงห์คำ บางคนก็เรียกว่า สิงห์กรับ เพราะที่ปากจะกระทบกันดังกรับ กรับ อยู่เสมอ ตามจังหวะเสียงกลอง ปู่เยอ ย่าเยอ เล่นเมืองชวา เมืองซัว เมืองหิมพานต์มาได้สิงห์แก้ว สิงคำ นำมาด้วย เจ้าจ้ำ คนเล่น สืบทอดสายเชื้อกันมานาน แต่ก่อนจะนำออกมาปีละ 2 ครั้ง คือบุญปีใหม่ เดือน 5 ที่หลวงพระบาง กับบุญธาตุหลวง เดือน 12 ที่เวียงจันทน์ เล่นตอนกลางคืน แต่ต่อมาเกิดปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์ของปู่เยอ ย่าเยอ หัก เลยนำเอาออกมาแสดงเฉพาะบุญปีใหม่ เดือน 5 เท่านั้น ก่อนจะนำออกมาจะต้องแต่งอาหาร ผลไม้ ให้ก่อน ทำพิธีสูตรขวัญเชิญออกมา โดยเจ้าจ้ำ นางแต่ง ผู้ที่จะร่วมแสดง ออกมาลงทำการฝึกซ้อม จังหวะตนตรี เสียงกลอง ท่าเต้น ลงมาที่อยู่ข้างล่างกุฏิ ท้าวจันทะมาน พงษ์สุวรรณ์ เป็นผู้ที่รับมรดกการเต้น แต่ก่อนเต้นเป็นลูกสิงห์แก้ว สิงห์คำ ต่อมาได้เต้นเป็นพ่อ การที่จะออกมาเต้นได้นั้น ต้องมีคำสูตร ให้พร ไถ่ถอน คอบ ก่อนถึงจะแสดงได้ ส่วนที่เก็บอุปกรณ์ทั้งหมด ห้อยไว้ด้วยลวดสองเส้น เส้นละข้าง ป้องกันหนูเข้าไปกัด เป็นกล่องไม้ขนาดใหญ่ เก่าแก่แห้งมาก ดูที่ลวดลายและการแห้งของสีรักและเนื้อไม้ ชุดทหารสมัยเก่า มีทั้งสีน้ำเงิน แดง เขียว และหมวกทหาร แต่ก่อนเจ้ามหาชีวิต ศรีสว่างวงศ์ กษัตริย์ของลาวทุกพระองค์ ให้ความเคารพนับถือ และให้การเอื้อเฟื้อสนับสนุนด้วยดีตลอดมา ให้สิทธิพิเศษแก่ผู้คนที่เข้ามาเล่นในขบวน ปู่เยอ ย่าเยอ โดยเฉพาะ ผู้คนบ้านถิ่น บ้านเสี้ยว บ้านล่องน้ำเชียง ให้เข้ามารับใช้หอปู่เยอ ย่าเยอ อย่างเดียว และก็ได้รับสิทธิพิเศษไม่ได้เป็นทหาร มีเงิน เบี้ย ข้าวสาร ให้ด้วย เลี้ยงดู เป็นอย่างดี ผู้คนลาวจากหลวงพระบางที่ไปอยู่ทั่วโลกจะมาหาปู่เยอย่าเยอกันหมด เพราะเคารพ นับถือท่าน การที่จะเล่นเป็นตัวไหนนั้นต้องเข้าพิธีสูตรขวัญรับเอาเสียก่อน โดยเจ้าจ้ำในปัจจุบันผู้ที่ทำพิธีกรรมทั้งหมดนี้คือ ท้าวทองวัน พงษ์พิลัก จัดนำขบวนการดำเนินการตามขั้นตอนพิธีการต่างๆเกี่ยวกับปู่เยอ ย่าเยอ ทั้งหมด ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับงานต่างๆ มักจะไม่พอใช้จ่าย เพราะรายจ่ายในพิธีการทั้งหลายมีมากกว่าที่ได้รับมา เป็นปัญหาในการดำเนินการ ที่จะต้องปฏิบัติงานต่อไปตามประเพณีที่ปฏิบัติกันมาต่อ

สงครามในลาว

   (Root) 2010122_47288.gif

Advertising Zone    Close
ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...