walker นักเดินทางด้วยเท้า

 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  |  
 ตะกร้าสินค้า (0)

รอบรู้เมืองลาว    เวียงจันทน์   ตำนานโขง  หลวงพระบาง  งานแข่งเรือ  วัดต่างๆ ในหลวงพระบาง  จำปาสัก    โปรแกรมเที่ยวหลวงพระบาง (Root) 2010122_47288.gif 

   เพลงเชิญเที่ยวหลวงพระบาง

(Root) 2009720_38140.gif(Root) 2010122_47288.gif

ประวัติความเป็นมาของวัดต่างๆ 

 
หากมาหลวงพระบางแล้วไม่ได้เดินเข้าวัดข้าพเจ้าว่าคงแปลกๆ อยู่นะ ไม่ว่าพุทธ คริสต์ อิสลาม ฮินดู ซิก ยูดา ฯลฯ ตลอดจนยิปซี หรือพวกนอกรีตไร้ศาสนาก็ต้องเข้าไปชมสถาปัตย์กรรมทางพุทธศาสนาบ้าง...ไม่ก็สักวัดหนึ่งละ โดยแต่ละวัดในหลวงพระบางนั้นเรียกว่าแทบจะติดกัน เฉกเช่นเดียวกับวัดที่เชียงใหม่ สุโขทัย อยุธยา ลำพูน หรือน่านที่นิยมสร้างวัดติดๆ กัน ตามความเชื่อแบบง่ายๆ ครั้งกาลอดีตว่า กษัตริย์หรือเจ้าครองนครจะต้องสร้างวัดประจำพระองค์เพื่อเสริมบารมีและสิริมงคล ...กรุงเทพมหานครเองก็มีวัดใกล้ๆ กันในเขตเกาะรัตนโกสินทร์ หากแต่มีความจำเป็น...หรือเปล่า...ที่ต้องสร้างความเจริญให้เสมอเหมือนประเทศที่พัฒนาแล้ว จึงต้องก่อปูนเป็นทรงเหลี่ยมสูงลิ่วสุดโต่ง เจาะประตู หน้าต่าง บดบังหลังคาและเมรุจนแทบไม่เห็น ตัดถนนแล้วเอาเหล็กมาแล่นปล่อยควัน นานๆ ขยับเขยื่อนสัก 10 เมตร แล้วก็บอกว่าประเทศเราเจริญแล้ว จนทำให้เวลาเดินทางไปวัดในกรุงเทพฯ แต่ละวัดเหมือนว่าไกลกัน ไม่เชื่อก็กดที่นี่ไปไหว้พระ9วัดใน กทม....ลืมไปครับท่านผู้อ่านที่เคารพว่าตอนนี้ข้าพเจ้ากำลังจะอธิบายเกี่ยวกับวัดในหลวงพระบาง...เข้าเรื่องต่อดีกว่า   

สิมของวัดต่างๆ ในหลวงพระบางมี 5 แบบ ดังนี้

 

(Root) 2010216_49805.jpgสิมแบบผสม(Root) 2010216_51436.jpgแบบหลวงพระบาง

แบบไทลื้อ(Root) 2010216_49886.jpg(Root) 2010216_51423.jpgแบบเชียงขวาง(Root) 2010216_51412.jpgแบบเวียงจันทน์

illustrated by shisanupol

วัดเซียงทอง

(Root) 2009730_62135.jpg (Root) 2010115_49766.jpg

 

 วัดแรกที่จะอธิบายและแนะนำคือวัดเซียงทองเป็นวัดที่เก่าแก่มากวัดหนึ่งของหลวงพระบาง ตั้งอยู่ริมถนนสักกะริน ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของหลวงพระบาง มีการบันทึกว่าสร้างขึ้นตั้งแต่ยังคงเป็นเมืองเซียงดงเซียงทองประมาณปี พ.ศ. 2102 โดยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช กษัตริย์ผู้ครองอาณาจักรล้านช้าง วัดนี้ ถือเป็น “วัดประตูเมือง” เพราะมีท่าเทียบเรือทางด้านทิศเหนือ เมื่อพ.ศ. 2428 พวกฮ่อได้ยกกองทับมาบุกปล้นเมืองหลวงพระบาง โดยเดินทาง มาตามแม่น้ำโขงเมื่อถึงวัดเซียงทองได้ยกพลขึ้นตั้งค่ายภายในวัดนี้ หลังจากนั้นได้เผาและทำลายวัดต่างๆ ในเมืองหลวงพระบาง ด้วยเหตุเป็นสถานที่ตั้งค่ายทหารจึงทำให้วัดเซียงทองไม่ถูกเผาหรือทำลาย สถาปัตยกรรมแบบล้านช้างต่างๆ จึงยังคงสมบูรณ์อยู่โดยเฉพาะ สิมหลังคาทรงปีกนก 3 ชั้น ที่จัดได้ว่าเป็นต้นแบบของศิลปะล้านช้างหลวงพระบาง เพียงแห่งเดียวของประเทศลาว ภายในสิม มีจิตกรรมฝาผนังลายรดน้ำ เป็นนิทานพื้นบ้านเรื่อง “ท้าวจันทะพานิด” เป็นเรื่องเกี่ยวกับพ่อค้าชาวจีน บ้างว่าเป็นชาวเวียดเพราะมีการสวมหมวกเจ๊ก (จากภาพที่ปรากฏภายในสิม) ที่เดินเรือมาขายสินค้าในหลวงพระบางและประกอบด้วยการลงรักปิดทอง ซึ่งชาวลาวจะเรียกว่า “ลายพอกคำ” ส่วนด้านนอกจะเป็นเรื่อง นางกาฮี นิทานพื้นบ้านของเมืองหลวงพระบาง (นิทานนางกาฮีมีเรื่องคล้ายๆ กับเรื่องนางสิบสอง ของไทย) ปัจจุบันวัดเซียงทองเป็นที่ประดิษฐานของ “พระม่าน” พระคู่บ้านคู่เมืองอีกองค์หนึ่งของหลวงพระบาง ชาวบ้านในแถบบ้านโพนเฮือง ...หลังวัดเซียงทองติดริมโขง หลวงพระบาง เล่าว่า “พระม่านกับพระบางนั้นจะอันเชิญออกมา สรงน้ำในคราวเดียวกันไม่ได้ เพราะจะเกิดเรื่องไม่ดี ชาวบ้านและพระภิกษุ จึงจัดพิธีสรงน้ำพระม่านหลังจากเสร็จสิ้นพิธีสรงน้ำพระบางแล้ว” และหากเมื่อนำพระม่านออกมาด้านนอก เมืองหลวงพระบางจะมืดครึ้ม และจะมีฝนตก หอพระม่านถูกปิดไว้ แต่ได้เจาะรูเล็กๆ ที่ประตูพอมองเห็นพระม่านได้ ความเชื่อของชาวหลวงพระบางกล่าวว่า ถ้าใครมาบนบานขอลูกกับ “พระม่าน” มักจะประสบผล  ข้างหอพระม่านจะเป็นหอพระพุทธไสยาสน์ ทั้งหอพระม่านและหอพระพุทธไสยาสน์ (หอสีชมพู) นี้มีการประดับลาย กระจกสีสันงดงาม โดยปราศจากทฤษฎีทางศิลปะ ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็น ศิลปะ “แบบไร้มายา” ...คือคิดอย่างไรก็สร้างไปตามใจที่คิด...(nai’vs art นาฟส อาร์ต) แต่ภาพลายกระจกที่ออกมานั้นมีความงดงามและลงตัวและแสดงให้เห็น ภาพวิถีชีวิตของชาวหลวงพระบางในอดีต นับว่าเป็นการบันทึก ประวัติศาสตร์ผ่านงานศิลปะอย่างตรงไปตรงมา ใน พ.ศ. 2504 สมัยของ เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนาได้สร้างโรงเมี้ยนโกศ เพื่อเก็บพระโกศของ เจ้ามหาชีวิต ศรีสว่างวงศ์ ออกแบบโ ดยเจ้ามณีวงศ์สร้างด้วยความประณีต มีลายควักแกะ (การแกะสลัก) ตามฝนังด้านนอกแล้วปิดทองจนเหลือง เป็นต้นแบบของพุทธศิลปลาวอีกประเภทหนึ่ง โดยโรงเก็บเมี้ยนโกศนี้ ออกแบบโดยเจ้ามณีวงศ์ ลวดลายตามเรื่องพระลักพระรามตอนทัศกัณฑ์ถูกศรพระราม ...ชาวลาวเรียกตอนทศล้ม ตามคำบอกเล่าของผู้ชำนาญด้านศิลปะการแสดงโขนของไทย กล่าวว่าตอนนี้เป็นตอนใหญ่เป็นตอนล้มยักษ์ จะไม่นิยมแสดงหรือเขียนเ ป็นงานจิตรกรรม เพราะต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญและต้องบวงสรวงอย่างยิ่งใหญ่ให้สมพิธีกรรม แกะสลักโดย นายเพี้ยตัน ศิลปินแห่งชาติของลาว และนอกจากนี้ยังมี พระพุทธรูปปางห้ามญาติที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรั ชกาลที่ 9 พระราชทานแด่เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงค์โดยประดิษฐานอยู่ในอูบมุง ด้านข้างของสิมวัดเซียงทอง

 (Root) 2010115_57812.jpg โรงเมี้ยนโกศ (Root) 2010115_57793.jpg สิม 17 ยอด

 วัดใหม่สุวัน

  (Root) 2010115_57742.jpg     (Root) 2010115_57754.jpg

  
วัดนี้อยู่ริมถนนสีสะหว่างวง ใกล้หอพิพิธภัณฑ์ ด้านโรงละคอน เป็นวัดที่มีความสำคัญอีกวัดหนึ่งในหลวงพระบาง ใครได้มาเมืองนี้ต้องผ่านวัดนี้ทุกคนเพราะเป็นวัดกลางใจเมือง ผู้ที่มาเดินตลาดมืดจะได้เห็นความงดงามในเวลากลางคืนยามที่เปิดไฟส่องที่หลังคาสิม (สิมแบบผสม) หากท่านใดได้ชมภาพยนตร์เรื่อง "สบายดีหลวงพระบาง" ที่มีคุณอนันดา แสดงนำ จะเห็นหลังคาของวัดใหม่นี้ตอนลงจากรถตู้ที่หลวงพระบางเพื่อตามหา "สอน" (นางเอก-ไกด์สาวชาวลาว) วัดใหม่สุวันนะพูมาราม ชาวลาวจะเรียกกันสั้นๆ ว่า
 “วัดใหม่” สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 -21 ในปีพ.ศ. 2339 ได้ปรับปรุงซ่อมแซมใหม่ในสมัยของพระเจ้าอนุรุทธราช  เป็นช่วงฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลาวกระทั้งถึงปี พ.ศ. 2362 ในสมัยของ พระเจ้ามังธาตุราชได้มีการซ่อมแซมวัดใหม่อีกครั้ง ทรงโปรดให้มีการ สร้างพระพุทธรูป พระธาตุ และสร้างหอขวางทั้งด้านหน้าและด้านหลัง และเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดใหม่” จวบจนพ.ศ. 243 4 ในสมัยของพระเจ้าอุ่นคำ ทรงโปรดให้สร้างระเบียง ด้านทิศตะวันออกและตะวันตกข้างสิม ในสมัย เจ้ามหาชีวิตสักรินทร์ใช้เป็ นที่ปร ะทับขอ งพระบา  ง (ย้ายมาจากวัดวิซุน) และประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาต่อหน้า พระบาง และเป็นที่ประทับ ของสมเด็จพระยอดแก้ว สมเด็จ พระสังฆราชองค์สุดท้ายของลาว ปัจจุบันวัดใหม่ใช้เป็นที่ประกอบพิธี สรงน้ำองค์พระบางในช่วงเทศกาล วันสงกรานต์ และจัดงานสมโภชฉลอง เป็นเวลา 2-3 วัน ตามแต่พระเถระ ผู้ใหญ่เป็นผู้กำหนด

 วัดมะโนฮม (มโนรมย์) 

     (Root) 2010115_57842.jpg (Root) 2010115_57826.jpg
 หากเดินมาถึงสามแยกของถนนพระมหาปาสมันต์ จะเห็นโขง(ซุ้ม)ประตูวัดสีแดงเหลืองใหญ่ตั้งอยู่ตรงตรงแยกพอดี ชาวบ้านแถวนี้ส่วนมากเป็นเชื้อสายจีน บ้างเรียกชุมชนแถบนี้ว่า "บ้านเจ๊ก" คำว่า "มะโนฮม" นั้นหมายถึง “เป็นที่ชอบใจ งดงาม” วัดนี้สร้างขึ้น ในสมัยพระเจ้าสามเสนไท ราชโอรสของพระเจ้าฟ้างุ้ม ผู้ก่อตั้งอาณาจักร ล้านช้างในกลางศตวรรษที่ 20 ระหว่างปี พ.ศ. 1921-1922 พระเจ้า สามแสนไทโปรดให้หล่อพระพทุธรูปสำริด มีจารึกบอกน้ำหนักของ พระพุทธรูปองค์นี้คือ 12 ตัน มีพระเศียร 1.90 เมตร ส่วนพระวรกาย 4 เมตร เป็นพระพุทธรูป สำริดที่เก่าแก่ที่สุดในหลวงพระบางและใน ราชอาณาจักรล้านช้าง และมีพุทธลักษณะคล้ายพระพุทธรูปสุโขทัย ซึ่งสามารถแสดงความสัมพันธ์ระหว่างหลวงพระบางและสุโขทัยในอดีต บางตำราอ้างว่าหล่อขึ้นโดยช่างจากกรุงสุโขทัย ต่อมาในปี พ.ศ. 2430 เกิดสงครามกับชาวฮ่อ ทำให้พระพุทธรูปถูกทำลาย เสียหายไปมาก และได้ปฎิสังขรณ์ขึ้นใหม่ด้วยซีเมนต์หุ้มด้วยทองคำเปลวอีกครั้งหนึ่ง

  วัดวิซุน

 

(Root) 2010122_40977.jpg(Root) 2010115_57893.jpg(Root) 2010115_57765.jpg(Root) 201016_43838.jpg

 
    วัดวิซุนราช เป็นวัดที่มีประวัติยาวนานและความสำคัญมากทางประวัติศาสตร์ของหลวงพระบางและอาณาจักรล้านช้าง วัดนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของ
พระธาตุจอมพูสี ไปทาง ถ. พมทัด ประมาณ 300 เมตร หัวมุมสามแยก ถ.วิซุน
    เมื่อ พ.ศ. 2046 เจ้ามหาชีวิตวิชุ
นหราชโปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้น  และได้ตั้งชื่อวัดตามพระนามของพระองค์ เมื่อสร้างเสร็จได้อัญเชิญ พระบางจาก วัดมะโนฮม มาประดิษฐานไว้ที่วัดวิซุน ใน  พ.ศ.2 057 พระนางพันตีนเซียง พระมเหสีของพระเจ้าวิชุนหราชโปรดให้สร้าง พระทาดหมากโม (แตงโม)ซึ่งคาดว่าได้รับอิทธิพลมาจากแถบอินเดีย เพราะพระธาตุมีรูปทรงฟองน้ำคล้ายลักษณะสถูปสาญจี วัดนี้เคยเป็นที่ประดิษฐนพระพุทธ รูปองค์สำคั ญหลา ยองค์ เช่น ในปี พ.ศ. 2066  พระเจ้าโพธิสารอมรินทราธิราช ทรงแต่งราชทูตเดินทางไปอัญเชิญ พระแซกคำจากพระเมืองเกษเกล้า(เชียงใหม่) มาประดิษฐานคู่กับพระบาง ในครั้งนั้นพระเทพมงคลเถระเป็นผู้นำมาพร้อมด้วยพระไตรปิฎก 60 คัมภีร์มาด้วย ในปี พ.ศ. 2068 พระเจ้าโพธิ สารราช ทรงผนวชที่วัดนี้ และต่อมาในปี พ.ศ. 2091 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ได้ไปอัญเชิญ พระพุทธมหามาณีรัตนปฎิมากร (พระแก้วมรกต) และพระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย (พระแก้วขาว) หรือพระจันทรรัตนะ จากเมืองเชียงใหม่มาประดิษฐานไว้ที่วัดนี้ วัดนี้เป็นวัดที่มีความสำคัญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของเมือง หลวงพระบาง เพราะเป็นวัดที่กระทำพิ ธีสัตย์ระหว่ างเจ้าองค์ นก และ เ จ้าอินท โสม (พระอนุชาเจ้ากิ่ งกิสราช) ที่รบแย่งชิ งเมืองหลวงพระบางกัน เจ้าอินทโสมได้รวบรวมไพร่พลจากเมืองแพร่ เมืองล่า เมืองพง มาตั้งพล อยู่ที่เมืองงอยลำน้ำอูเพื่อชิงเอาเมืองคืน เมื่อเจ้าองค์นกทราบจึงปรึกษากัน เสนาบดีและทรงเห็นว่าถ้ารบกันไพร่พลก็จะล้มตายและความสัมพันธ์ ฉันญาติก็จะสิ้นไป จึงนิมนตร์พระราชาคณะขึ้นไปเชิญเจ้าอินทโสม ลงมาเจรจากัน พร้อมทั้งให้สัตย์ว่าจะไม่ทำร้ายกันที่ภายในสิมวัดวิซุน ซึ่งก่อนหน้านั้นเจ้าลองอนุชาทรงอัญเชิญพระบางไปเมือง เวียงจันทน์แล้ว ต่อมาพระบางได้ถูกอัญเชิญมาสยาม 2 ครั้ง จนในปี พ.ศ. 2401 สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ได้ทรงอัญเชิญพระบางเจ้า กลับมาหลวงพระบางทางบก เมื่อมาถึงบ้านเซียงแมน พระเจ้าล้านช้าง ร่มขาวหลวงพระบาง ก็กระทำพิธีเฉลิมฉลอง 9 วัน 9 คืน แล้วจึงนำกลับมา ประดิษฐานไว้ที่สิมวัดวิซุน และทรงตั้งพิธีรับน้ำพระพิพัฒน์สัตยาถวาย สัตย์ต่อหน้าพระบาง และเลิกไปเมื่อฝรั่งเศสเข้ามีอำนาจ
    สมเด็จพระเจ้าสักรินทร์ทรงอัญเชิญพระบางไป ประดิษฐานไว้ที่ วัดใหม่สุวรรณภูมาราม ในปี พ.ศ. 2437 ซึ่งต่อมาก็กลายเป็นสถานที่ ถือน้ำ
 พระพิพัฒน์สั ตยา แต่หลังจ ากที่มีการรวมแขวง เวียงจันทร์, พวน, หัวพันและหัวของแล้วทรงย้ายสถานที่ประกอบพิธีไปกระทำที่ วัดวิซุนดังเดิม เพราะทรง เห็นว่าที่วัดใหม่นั้ นเล็กเกินไป
    ในปี พ.ศ. 2439 เมื่อเจ้าสุพรรณรั
 งสี พระรัชทายาท สิ้นพระชนม์ แล ะเคยบวชเป็นสาม เณรที่วัดนี้ สมเด็จพระเจ้าสักรินทร์  จึงทรงรับสั่งให้ ปฎิ สังขรณ์ สิมวัดวิซุนทั้งหลัง โดยยึดรูปแบบการสร้า งอย่างเดิม (สิ มทรงไทลื้อ) เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่เจ้าสุพรรณรังสี
    นอกจากนี้ภายในวัดวิซุนยังมีหอเทวดาหลวงซึ่งใช้เก็บ “ปูเยอ-ย่าเยอ และสิงห์แก้ว” เทวดาประจำเมืองหลวงพระบาง เรียกว่า หอเทวดาหลวง

วัดทาดหลวง

(Root) 2010115_57859.jpg (Root) 2010115_57878.jpg
 
วัดทาดหลวงตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกจากพูสี บนถนนโพทิสะลาด 
    

    สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2361 ในสมัยพระเจ้ามหาชีวิตมังธาตุราช ลักษณะสิมเป็นสถาปัตย์กรรมแบบทรงไทลื้อ เป็นสมัยที่พุทธศาสนา ในหลวงพระบางกำลังรุ่งเรือง และจะมีกระบวนพยุหยาตราของ เจ้ามหาชีวิต เจ้าราชบุตร และพระ บรมวงศานุวงศ์ มาประกอบพิธีทาง ศาสนาที่วัดนี้ในวันเพ็ญเดือน 12 ของทุกปี หากแต่ได้ยกเลิกไปเมื่อ พ.ศ. 2487
    ลักษณะเด่นของวัดนี้คือ พระธาตุด้านหลังสิม “พระธาตุศรีธรรมหายโศก” ที่บรรจุพระบรมสารี- ริกธาตุที่มีขนาดใหญ่ สร้างตั้งแต่สมัย พระเจ้ามหาชีวิตมังธาตุราช ชาวเมืองเรียก พระธาตุหลวง ส่วนพระธาตุ ด้านหน้าสิมนั้น สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2508 เพื่อใช้บรรจุพระ
 สรีรังค ารของพระเจ้ ามห าชีวิตศรีสว่ างวงศ์ สร้า งโดยพระนางปทุมมา พระอัครมเหสี ในพระเจ้ามหาชีวิต
    ปัจจุบัน สนามกีฬา หน้า
 วัดทาดหลวง ใช้เป็นที่จัดการประกวด นางสังขาร (นางสงกรานต์) และ ออกร้านขายเครื่องต่างๆ หรือจัดงาน ต่างๆ เปรียบเสมือนสนามหลวง ของกรุงเทพฯ 

       

วัดป่าไผ่
วัดป่าไผ่ตั้งอยู่ปริเวณเรือนมรดกเซียงม่วน ติดกับวัดเซียงม่วน อยู่ทางทิศเหนือของพูสี
    แต่เดิมบริเวณวัดเต็มไปด้วยต้นไผ่เป็นจำนวนมากจึงเป็นที่มา ของชื่อ “วัดป่าไผ่” Louis
Finot และ Henri Parmentier นักประวัติศาสตร์ และโบราณคดีจากฝรั่งเศส สันนิษฐานว่าวัดนี้สร้างในรัชสมัยของ พระเจ้าสุริยวงศาในระหว่างปี พ.ศ. 2308-2334 บางตำราอ้างว่า เจ้าคำหมั้น วงกตรัตนะ นักบันทึกประวัติศาสตร์ของพระราชวัง กล่าวว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2358 เพราะบริเวณวัดเป็นอาณาเขตของ “หอเจ้าฟ้าเหลือม” ในรัชสมัยของพระเจ้าอนุรุทธ ต่อมามีการบูรณะ ใหม่เกือบทั้งหลังในปี พ.ศ. 2473 และเขียนลายฟอกคำใหม่ จึงทำให้เป็นลายฟอกคำที่ใหม่และสมบูรณ์ที่สุดในหลวงพระบาง 

 วัดแสนสุขาราม
(Root) 2010115_49756.jpg(Root) 2010115_49745.jpg     (Root) 2010122_40988.jpg
 
   หากเดินจากวัดใหม่ไปทางทิศเหนือมุ่งหน้าไปวัดเซียงทองจะผ่านวัดแสน ซึ่งอยู่ทางด้านเหนือของถนนสีสะหว่างวง ติดกับวัดสบ
    วัดแสนเป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2261 ในสมัยการปกครองของเจ้ากิ่งกิสราช 11 ปี หลังจากที่แยกนครเวียงจันทน์ออกจากหลวงพระบาง โดยสร้างขึ้นทับวัดเก่าสมัยศตวรรษที่ 20 บริเวณนี้ถือว่าเป็นสถานที่เก่าแก่และมีตำนานศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่ง ของเมือง ในปี พ.ศ. 2518 ได้มีการ บูรณะวัดนี้ใหม่เกือบทั้งหมด และใช้ ชื่อในสมัยต่อมาว่า “วัดแสนสุขาราม” นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปประทับ ยืนปางเปิดโลกสูง 18 ศอก คล้ายงาน ช่างจากสุโขทัย ชาวบ้านจะเรียกกัน ว่า “พระเจ้า 18 ศอก”
         

 

 วัดหนอง
อยู่บนถนนด้านข้างเส้นทางเชื่อมระหว่างหอพิพิธภัณฑ์พระราชวังทางทิศเหนือมุ่งสู่วัดเซียงทอง หรือเส้นที่สองนับจากริมฝั่งโขง  เป็นเส้นทางไปสู่วัดจูมค้อง วัดเซียงม่วน
    “วัดหนองสีคูนเมือง” สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2272 ในสมัย พระเจ้าองค์นก โดยบริเวณวัดในอดีตซึ่งเคยมีหนองน้ำจึงเรียกกันว่า “วัดหนอง” แต่ปัจจุบันได้ถมไปแล้ว นอกจากนั้น บริเวณนี้ยังเป็นที่ตั้งของ วังหลวง วังหน้า และวังเจ้านายต่างๆ จึงเป็นที่ที่มีความสำคัญมาแต่อดีต นอกจากนี้
  วัดนี้มีชื่อเสียง เรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของ พระเจ้า องค์แสน มีตำนานเล่าว่า เพียปุ้มลุม ชาวบ้านโคมเสลา (ทางด้านเหนือของ หลวงพระบาง) ได้อัญเชิญ พระพุทธรูปทองสำริดน้ำหนักหนึ่งแสน (120 กิโลกรัม) มาจากเมือง เชียงแสนมาไว้ที่บ้านโคมเสลา แต่แพได้ล่องตามน้ำมาขึ้นที่ท่าวัดหนอง  จึงได้อัญ  เชิญพระพุทธรูปประดิษฐานที่วัด และในปี พ.ศ. 2317 เกิดไฟไหม้ครั้งให ญ่ แต่พระพุ ทธรูปทองสำริดองค์นี้ไม่ได้ไหม้ ด้วยความ มหัศจรรย์ชาวบ้านจึงได้เรียกนามพระว่า “พระเจ้าองค์แสนศักดิ์สิทธิ์” ชาวหลวงพระบางมักนิยมมาขอให้การเดินทางโดยสวัสดิภาพ

 วัดสบ
อยู่ทางทิศเหนือของถนนสักกะรินติดกับวัดสิริมงคล
  “วัดสบ” นั้นสันนิษฐานว่า คำว่า “สบ” น่าจะหมายถึง พระศพของ พระเจ้าจักรพรรดิแผ่นแผ้ว สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2028 โดยพระเจ้าแท่นคำ พระราชโอรสของพระเจ้าจักรพรรดิแผ่นแผ้ว ซึ่งขับไล่กองทัพญวน ออกจากล้านช้างได้สำเร็จ เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระราชบิดาที่ทรง สวรรคตที่เมืองเซียงคาน และได้ทรงสร้างวัดแห่งนี้หลังจากจัดงานถวาย พระเพลิง ณ บริเวณที่ตั้งวัดในปัจจุบันและพระราชทานนามวัดว่า “วัดสบเซียงทอง” คู่กับวัด “วัดสบเซียงคาน” วัดนี้เป็นการสร้างสิมแบบ ทรงหลวงพระบางขนาดเล็ก และสถาปัตยกรรมแบบผสมเพราะผ่าน การบูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่มา 2 ครั้งในปี พ.ศ. 2452 และสร้างระเบียง ด้านข้างในปี พ.ศ. 2493 และในปี พ.ศ. 2516 ได้สร้างโรงเรียน ปริยัติธรรมสงฆ์ชั้นประถมขึ้น

วัดพระบาดใต้
(Root) 2010122_53382.jpg

ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกของ เมืองหลวงพระบาง ติดแม่น้ำโขง

    สันนิษฐานว่าวัดนี้สร้างขึ้น ในสมัยพระเจ้ามหาชีวิตสามแสนไท ประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 ตั้งอยู่ บริเวณคูกำแพงเมืองชั้นใน ในปี พ.ศ. 2503 มีการบูรณะใหม่แบบศิลปะ ผสมเวียดนาม จนเกือบไม่เห็น ร่องรอยเก่า เนื่องจากประชาชนใน บริเวณนี้ส่วนใหญ่เป็นชาวเวียดนาม และงบบริจาคที่นำมาบูรณะวัดส่วนใหญ่ เป็นของชาวพุทธเวียดนาม วัดนี้จึงมีชาวบ้านบางกลุ่มเรียกว่า "วัดญวน" วัดนี้มีรอยพระพุทธบาทอยู่ด้านกลังของวัดติดริมน้ำโขง...เป็นที่มาของชื่อวัด และเป็นอีกจุดชมอาทิตย์อัสดงริมน้ำโขงที่งดงามอีกแห่งในหลวงพระบาง

วัดโพนซัย

อยู่ด้านหลังตลาดเช้า ฝั่งถนนสุวันนะบัลลัง ถนนริมแม่น้ำโขง
    วัดนี้เคยมีพระประธานที่มีชื่อว่า "พระพุทธไชยชนะสงคราม" ตามความเชื่
ถืออำนาจอิทธิฤทธิ์ของพระประธาน ตามประวัติกล่าวว่า พระเจ้าแผ่นดินหลวงพระบางและบรรดาแม่ทัพจะมาทำพิธีสักการะ พระประธานที่วัดนี้เพื่อขอพรก่อนจะออกไปทำศึกสงครามจึงเป็น ที่มาของชื่อ "วัดโพนชัย"
    สร้างขึ้นโดยพระเจ้าอนุรุทธราชในปี พ.ศ. 2333 ภายหลัง เกิดเพลิงไหม้และได้รับการบูรณะใหม่ในปี พ.ศ. 2513  โดยอดีตองค์สมเด็จ พระสังฆราช โดยได้ขยายสีมาหลังใหม่ให้กว้างขึ้นอีกด้านละ 1 เมตร ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 ได้มีการบูรณะใหม่หมดทำให้พุทธสีมาหลังนี้ จึงกลายเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กหัน
หน้าไปทางทิศตะวันออก- เฉียงเหนือ ปัจจุบันยังมีร่องรอยของเศษกำแพงอิฐและเสาของวัดเก่า เป็นที่น่าเสียดายเพราะหอไตรได้ถูกเผาไปในสมัยที่พวกฮ่อเข้ามารุกรานตามบันทึกประวัติกล่าวไว้ ว่าวัดโพนซัยนี้มีหอไตรเก่าแก่ที่งดงาม และเป็นสาขาของหอไตรวัดธาตุหลวง...ที่เวียงจันทน์ ปัจจุบันไม่ปรากฏร่องรอยให้เห็นแล้ว

วัดปากคาน

(Root) 2010122_40833.jpg

มองจากวัดปากคาน

วัดปากคานตั้งอยู่ริมน้ำคาน ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของตัวเมือง
ชื่อของวัดนี้มาจากลักษณะของสถานที่ตั้งอยู่ริมลำน้ำคาน ที่เชื่อมต่อสู่น้ำโขง สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2240 โดยพระยาจันทร์เทพ ตรงกับราชสมัย
ของพระเจ้าอินทโสม ถูกทิ้งร้างหลายสิบปีจนชาวลื้อ ที่อพยพมาภายหลังร่วมกันบูรณะ ขึ้นใหม่ หลังจากที่วัดในหลวงพระบาง ส่วนใหญ่ ถูกเผาในพุทธศตวรรษที่ 25 จึงทำให้ศิลปกรรมส่วนใหญ่ได้รับ อิทธิพลจากชาวลื้อ

วัดคีลี    
ตั้งอยู่บนถนนสักกรินทร์ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของวัดปากคาน ใกล้กับวัดเซียงทอง
    มีตำนานกล่าวว่าชาวพวนจากเซียงขวางได้อพอพมาเมื่อปี พ.ศ. 2316 เป็นผู้สร้างขึ้นบนเนินที่ตั้งหอเจ้าฟ้าดอกไส้เดื่อ เพื่ออุทิศให้ แก่ทหารพวกที่มาช่วยรบกับกองทัพพม่า วัดแห่งนี้เป็นอีกหนึ่งหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์ที่ยืนยันถึงความสัมพันธ์ระหว่างชาวไทพวนเซียงขวาง กับชาวหลวง
ระบาง และการส่งกองทหารของพระเจ้าอินทโสม แห่งนครหลวงพระบาง รวมทั้งส่งกองทหารมาช่วยสมเด็จพระเจ้าสุริยวงศา ผู้เป็นพระเชษฐาของพระชายา รบกับกองทัพพม่าของโป่สุพลาที่ยกทัพ 5,000 คนมาโจมตีเมืองหลวงพระบาง แต่พม่าเป็นฝ่ายมีชัย ทำให้หลวงพระบางตกเป็นเมืองขึ้นแก่อังวะ เมื่อพม่ายกทัพกลับไปแล้ว ชาวบ้านจึงสร้างวัดนี้ขึ้นต่อมาได้เติมชื่อวัดต่อว่า วัดสุวันนะคีลี ซึ่งแปลว่า "ภูเขาทองคำ"


 วัดสีบุน
    วัดศรีบุญเรืองเป็นอีกวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่บนถน
นสักกรินทร์ ด้านใต้ของวัดปากคาน เยื้องกับวัดเซียงทอง ประวัติท้องถิ่นเล่าว่า สิมหลังนี้สร้างขึ้น ในรัชสมัยของพระเจ้าโชติกะกุมาร และในปี พ.ศ. 2301 ได้มีการบูรณะใหม่โดยชาวบ้านบริเวณใกล้เคียง


 วัดสิริมงคล
    ติดกับวัดศรีบุญเรือง
    วัดนี้ในพงศาวดารของลาวเรียกว่า  วัดสีมงคล  สร้างขึ้น ในรัชสมัยของพระเจ้าโชติกะกุมารในปี พ.ศ. 2306 โดยเพียกลาง มงคล จึงได้นำชื่อของท่านมาตั้งเป็นชื่อวั
ด ต่อมาได้เติมชื่อเป็น สิริมงคลไชยราม วัดนี้มีการซ่อมแซมอีกหลายครั้ง ในปี พ.ศ. 2473 และ พ.ศ. 2488

วัดเซียงม่วน

(Root) 2010115_49674.jpg(Root) 2010115_49663.jpg ตุ๊กตาอับเฉาจีน สันนิษฐาน

ว่าติดมากับสำเภาจีน


    วัดเซียงม่วนตั้งอยู่ทางทิศเหนือของพระราชวังเก่าติดกับ วัดจูมค้อง อยู่ระหว่างถนนนาวังและอุ่นคำทางด้านเหนือของพระราชวัง
    สิมของวัดนี้สร้างโดยพระยาสีสินชัยในปี พ.ศ. 2396 ในรัชกาล ของพระเจ้าจันทรเทพประภาคุณ กล่าวกันว่าที่มาของชื่อวัด เขียนเป็นภาษาไทยว่า “เสียงม่วน” นั้นมาจากเสียงอันไพเราะ (ภาษาลาวและภาษาล้านนาเรียกว่า “ม่วน”) ของฆ้องและกลองที่จับใจ ผู้คนในสมัยหลังจึงเปลี่ยนชื่อวัดเป็น เซียงม่วน

 วัดป่าฝาง
    ตั้งอยู่ บริเวณเชิงภูศรีด้านทิศเหนือ
    วัดนี้มีชื่อเรียกอีกชื่อ วัดเซียงงาม วัดนี้เป็นกลุ่มข
อวัด 3 วัด คือ วัดป่าแค วัดป่าฝาง และวัดพระบาทเหนือ ที่รวมกันเข้าเป็น วัดสีพุทธบาท ในปัจจุบัน จากชื่อของวัดทำให้ทราบว่าเดิมบริเวณนี้ มีต้นฝางมากมาย มีประวัติของวัดที่เล่าสืบต่อกันว่าเศรษฐีผู้หนึ่งชื่อว่า แสนมีชา เป็นชาว บ้านหัวลาด (บริเวณที่วัดนี้ตั้งอยู่) ได้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2342 ในรัชสมัย ของพระเจ้าอนุรุทธ


 วัดป่าแค (สีพุดทะบาด)
    ตั้งอยู่ต่อจากวัดป่าฝาง เดิมเรียกวัดนี้ว่า  วัดป่าแค  สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2396 ในรัชสมัยพระเจ้าจันทรเทพประภาคุณ และได้รับ การบูรณะขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2510-12  

วัดป่าฮวก

(Root) 2010115_51435.jpg(Root) 2010122_40949.jpg(Root) 2010122_47288.gif


    มีสิมทรงเวียงจันทน์ วัดเดียวในหลวงพระบาง ตั้งอยู่เชิงพูสี
    ชื่อของวัดนี้มาจากชื่อของป่าไม้ฮวก (รวก) ที่มีอยู่ในบริเวณนี้ วัดแห่งนี้สร้างขึ้นโดยพระยาสีมหานาม ในรัชสมัยพระเจ้าจันทรเทพ ประภาคุณ ได้รับอิทธิพลศิลปะแบบรัตนโกสินทร์ เพราะในขณะนั้น มีการปราบฮ่อ โดยมีพระยาสุรศักดิ์มนตรีแม่ทัพจากไทยยกกำลังไป ที่หลวงพระบาง
    ปัจจุบัน วัดนี้ไม่ภิกษุแล้ว  ในพ.ศ. 2552 มีโครงการและ การร่วมมือจากไทยในการซ่อม ภาพฝาผนัง ให้คงสภาพแบบเดิม โ
ดยใช้วัสดุและเทคนิคแบบเดิม


 วัดอาไพ
    อยู่ติดลำน้ำคานด้านตะวันออกเฉียงเหนือของวัดอาราม
    วัดอาไพสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2070 ในรัชกาลของพระเจ้าโพธิสาร โดยพวกพ่อค้าปลาแดกที่มาจากทางใต้ เดิมมีชื่อว่า “วัดไหไฟปลาแดก” และถูกเปลี่ยนเป็น “วัดอาไพ” ในปี พ.ศ. 2466 พระยาหมื่นนาวา และชาวบ้านอาไพได้บูรณะซ่อมแซมวัดในปีพ.ศ. 2516 พระบุญสกุ ได้สร้างโรงเรียนบาลีสงฆ์ขึ้นในวัดนี้
 

วัดอาราม (อาฮาม)

(Root) 2010122_40856.jpg



    ติดกับวัดวิชุนทางด้านเหนือวัดอารามหรือชื่อเรียกใน ภาษาลาว ว่า  วัดอาฮาม สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระเจ้ามังธาตุราชในปี พ.ศ. 2365  

 
วัดหมื่นนา
    ติดลำน้ำคาน ด้านตะวันออกเฉียงใต้ของวัดวิชุน เชิงสะพาน ข้ามน้ำคาน (สะพานเหล็ก)
    พุทธสีมาวัดนี้สร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2076 โดยพระบิดาเลี้ยง ของท้าวชมพู ราชโอรสของพระเจ้าหล้าแสนไท ต่อมาชาวบ้านได้ ปฎิสังขรณ์ขึ้นใหม่ เมื่อพ.ศ. 2463 ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวงศ์ และเพื่อเป็นเครื่องประกอบความศัทธาในการปลูกสร้างวัด ชาวบ้าน ทุกคนจึงนำข้าวในนาของตนคนละหนึ่งหมื่นมาเป็นส่วนประกอบ (ข้าวหนึ่งหมื่นชั่งได้ประมาณ 12 กิโลกรัม) อันเป็นที่มาของวัดแห่งนี้

วัดห่อเซียง

(Root) 2010115_49730.jpg(Root) 2010122_40961.jpg

    ถนนเจ้าฟ้างุ้ม ตั้งอยู่ติดกับวัดมหาธาตุ
    เป็นสถานที่ที่พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชทรงตั้งพระราชพิธีหอ เสี่ยงทายหาสถานที่สร้างวัดพระศรีมหาธาตุในปี พ.ศ. 2091 หากต่อมา ได้เรียกเปลี่ยนเป็นวัดหัวเซียง ต่อมาเสนมื้อซ้าพร้อมมารดา บุตร ธิดา ได้สร้างสิมขึ้นในปี พ.ศ. 2248 ภายในวัดมีพระพุทธรูปเก่าหลายองค์

วัดมหาทาด (ทาดน้อย)
(Root) 2010122_53399.jpg(Root) 2010122_53423.jpg(Root) 2010122_53438.jpg

    ตั้งอยู่ถนนเจ้าฟ้างุ้ม ติดกับวัดหอเสี่ยง
    วัดทาดน้อยนี้สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ปีพ.ศ. 2091 จากจารึกของวัดมหาทาด (ปัจจุบันไม่ทราบว่าเก็บรักษาไว้ที่ใด) กล่าวถึงประเพณีโบราณคือ การกัลปนาที่นา ข้าวัด และการส่งส่วย คือ ศักราช 910 พระราชอัยการมหาเทวีเจ้า (หมายถึง ย่า หรือ ยายของ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช หากทรงเป็นย่าก็คือ พระมเหสีของ พระยาวิชุลราช พระราชมารดาของพระยาโพธิสารราช, ถ้าเป็นยาย หมายถึง พระมเหสีของพระเมืองเกษเกล้า พระราชมารดาของ พระนางยอดคำ พะราชมารดาของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช แต่ในที่นี้ คงหมายถึงยายมากกว่า) ทรงตั้งพระมหาทาดและถวายข้าไพร่แก่อาราม กำหนดให้บ้านโคม บ้านคาง บ้านโจน รวม 3 หมู่บ้าน ส่งส่วยข้าว (งวดข้าว) บ้านใหม่ บ้านจีม และบ้านซวาก ส่งส่วยหมาก (งวดหมาก) ตามที่กำหนด และนาพูภู (ภูกูด) เหนือทั้งมวลให้เป็นนาข้าวถวายองค์ พระพุทธรูปและให้ข้าทาสที่ถวาย ไว้แก่วัดใช้บริโภค


 วัดล่องคูน
    ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงตรงกันข้ามกับวัดเซียงทอง ฝั่งเมืองเซียงแมน  
    วัดนี้สร้างเมื่อ พ.ศ. 2334 ในรัชสมัยของพระเจ้าอนุรุทธ จากร่องรอยประวัติศาสตร์สันนิฐานว่าเป็นวัดป่ากรรมฐาน เพื่อใช้ใน พระราชพิธีราชาภิเษกขึ้นครองราชย์ตั้งแต่ศตวรรษที่ 23 โดยเจ้ามหาชีวิต ทุกพระองค์จะต้องทรงมาบำเพ็ญธรรมที่วัดนี้ 3 วัน ก่อนนั่งเรือเข้าเมือง ที่ท่าน้ำวัดเซียงทองเพื่อประกอบพิธีราชาภิเษก ในปี 2412 วัดล่องคูน ได้รับการปฏิสังขรณ์ใหม่ ให้งดงามยิ่งขึ้นัดล่องคูน และวัดนี้ได้อยู่ในความ อุปถัมภ์พิเศษของพระเจ้ามหาชีวิตหลวงพระบาง บรรดางานศิลปะ ตกแต่งต่างๆ จึงได้รับการสงวนรักษาไว้เป็นอย่างดี จนถึงสมัยพระเจ้าศรี สว่างวงศ์  พระเจ้าชีวิตศรีสว่างวัฒนา และองค์มกุฎราชกุมารเจ้าชาย วงศ์สว่าง (พระเจ้าศรีสว่างวัฒนายังไม่ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติตาม ประเพณี และได้ตระเตรียมจะขึ้นครองราชย์ขณะอยู่ที่วัดนี้ แต่สภาพ บ้านเมืองได้เปลี่ยนแปลงไปเสียก่อน)

วัดเซียงแมน
(Root) 2010122_40898.jpg

    อยู่ริมแม่น้ำโขงฝั่งเมืองเซียงแมน
    วัดนี้สร้างในสมัยสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช เดิมเรียกว่า วัดเซียงยืน ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดเซียงแมน ในสมัยพระวรรัตน ธรรมประโชติ (พระหน่อเมือง) พระราชโอรสของ สมเด็จพระไชย เชษฐาธิราช โดยเปรียบเมืองเซียงแมนเป็นแดนสวรรค์ดังคำกล่าวที่ว่า “สวรรค์เมืองแมน”

วัดโพนเพา
(Root) 2010122_47310.jpg(Root) 2010122_47298.jpg

    ทางทิศใต้ของเมืองหลวงพระบาง อยู่ระหว่างทางก่อนเข้าสู่ บ้านผานม
    สร้างขึ้นใหม่โดยพระอาจารย์สายสมุทร วัดนี้มีอีกชื่อว่า วัดป่า โพนเพา โดยเมื่อถึงเทศกาลเข้าพรรษาวัดนี้จะมีพระสงฆ์มาจำพรรษา มากเป็นพิเศษเพราะเงียบสงบและเป็นวัดป่าที่ใกล้เมืองหลวงพระบาง มากที่สุดเหมาะแก่การฝึกสมาธิ ลักษณะเด่นของวัดจะมีเจดีย์สีทอง อร่ามชื่อ สันติเจดีย์ ซึ่งจะมองเห็นได้แต่ไกลเมื่อขึ้นไปอยู่บนยอดพูสี
 

วัดปากอู
(Root) 2010122_53368.jpg

    อยู่ทางทิศเหนือของเมืองหลวงพระบาง ริมแม่น้ำโขงปากแม่น้ำอู มีน้ำอูไหลมาบรรจบ
    สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช พ.ศ.2090 โดยมี ถ้ำสำคัญอยู่ 2 ถ้ำ คือ ถ้ำเทิง ส่วนถ้ำด้านล่าง คือ ถ้ำลุ่ม ภายในถ้ำ ทั้งสองมีพระพุทธรูปขนาดเล็กอยู่เป็นจำนวนมาก นักท่องเที่ยวจะรู้จัก กันดีในชื่อ ถ้ำติ่ง สามารถเดินทางมาได้ทั้งทางเรือ หรือทางรถแล้วนั่งเรือ ข้ามแม่น้ำโขงมายังถ้ำนี้
    เมื่อถึงวันขึ้นปีใหม่ (วันสงกรานต์) ชาวลาวจะนั่งเรือมาไหว้พระ และสรงน้ำพระภายในถ้ำอย่างเนืองแน่น


(Root) 2010115_49702.jpg  โอ้ย เจอเหล้าเด็ด (ชื่อเหล้า)ของลาว บุญที่ทำมาล้างซะหมดเลย (Root) 2010122_47288.gif

(Root) 2010115_49685.jpg ภาพนี้ถ่ายที่เรือนพัก ...อ้อแอ้...ป้อแป้แล้ว


Advertising Zone    Close
ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...