walker นักเดินทางด้วยเท้า

 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  |  
 ตะกร้าสินค้า (0)

รอบรู้เมืองลาว    เวียงจันทน์   ตำนานโขง  หลวงพระบาง  งานแข่งเรือ  วัดต่างๆ ในหลวงพระบาง  จำปาสัก    โปรแกรมเที่ยวหลวงพระบาง (Root) 2010122_47288.gif 

 

(Root) 2009717_40983.jpg  (Root) 2010122_47288.gif

จากเวียงจันทน์สู่หลวงพระบาง

    ทันทีที่เท้าของข้าพเจ้าสัมผัสแผ่นดินลาวอีกครั้ง โดยตั้งใจจะไปหลวงพระบาง แต่การเดินทางโดยรถโดยสายจากสถานีขนส่งหมอชิต ในช่วงก่อนวันสงกรานต์นั้นการจราจรหนาแน่นและคับคั่งมาก ทำให้ มาถึงหนองคายในเวลาสาย เมื่อข้ามขัว (สพานมิตรภาพ) ไปถึงเวียงจันทน์ในเวลาเกือบ 10 นาฬิกา ซึ่งไม่ทันเที่ยวรถ  V.I.P. เวลา 8.00 และ 9.00 น. และไม่อยากโดยสารรถหวานเย็นที่เขย่าร่างกายเหมือนกำลังข้าพเจ้าจึงตัดสินใจแวะเที่ยวชมสถานที่ต่างๆ ที่น่าสนใจ ในนครเวียงจันทน์ โดยสถานที่แรกที่จะไปคือ ประตูชัย ขณะที่โดยสาร รถแทกซี่ก็ได้สนทนา กับโชเฟอร์ซึ่งข้าพเจ้าได้เหมาแบบเป็นวัน ให้พาเที่ยวชมสถานที่ต่างๆ ที่น่าสนใจ ในราคาที่ไม่แพงมากนัก
    โชเฟอร์ท่านนี้ฟังข้าพเจ้าพูดได้เข้าใจทุกอย่าง แต่ข้าพเจ้าฟัง ที่โชเฟอร์พูดได้ความบ้างไม่ได้ความบ้าง โชเฟอร์ท่านนี้เล่าให้ฟังว่า ทางจากสะพานมิตรภาพไปยังเวียงจันทน์นั้นเป็นเส้นทางที่สร้างขึ้น ไม่กี่ปี่นี้เอง โดยบอกว่าเป็นค่าปฏิกรรมสงครามซึ่งไทยชดใช้ให้ลาว ครั้งแพ้สงครามแก่ลาวในศึกร่มเกล้า...? (ทางสายนี้รัฐบาลไทย ให้ทุนสร้างเพราะมีการสร้างสะพานมิตรภาพจำต้องมีการสร้างถนน เชื่อมต่อ โดยถือว่าเป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรีกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเส้นทางสายเก่านั้นสร้างรอบเมืองเวียงจันทน์โดยฝรั่งเศส สังเกตได้จากต้นมะฮอกกานีตาม 2 ข้างทาง ถ้าถนนสายไหนมีต้น มะฮอกกานีให้ลงความเห็นแรกก่อนว่าเป็นถนนสายเก่า)              นครหลวงเวียงจันทน์มีหลายสิ่งหลายอย่างที่น่าสนใจทั้งรอย อารยธรรมเก่าและตึกสร้างใหม่ในศตวรรษที่ 20 ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ ดูกลมกลืน กันอย่างลงตัว สถานที่แรกที่ไป คือ ประตูชั ย อนุสรณ์แห่งสงครามอินโดจีนที่ผสมผสาน 2 วัฒนธรรมไว้ด้วยกัน

(Root) 2009716_45258.jpg (Root) 2009717_41025.jpg ภาพประตูชัย และตัวเมืองเวียงจันทน์เมื่อขึ้นไปยืนบนประตูชัย
    ประตูชัยตั้งอยู่บนถนนล้านช้าง ซึ่งถือว่าเป็นถนนเส้นหลัก ของเวียงจันทน์ เพราะถนนเส้นนี้มีสถานที่สำคัญหลายแห่งตั้งอยู่ และ เป็นถนนที่มีขนาดกว้างที่สุดในเวียงจันทน์ เมื่อรถเลี้ยวเข้าสู่ถนนสายนี้ ก็สามารถมองเห็นประตูชัยได้ทันที ความสำคัญของประตูชัยนี้ คือ เป็นอนุสาวรีย์แห่งการต่อสู้ของทหารลาวในสงครามอินโดจีน เมื่อทหารจากสหรัฐอเมริกาถอนกำลังทหารออกไปจากลาว รัฐบาลลาว จึงนำปูนซิเมนต์ที่ทางการสหรัฐอเมริกานำเข้ามาเพื่อเตรียมที่จะ สร้างรันเวย์ใหม่ที่สนามบินเวียงจันทน์ในช่วงสงคราม มาสร้างเป็น ประตูชัยนี้ จึงทำให้มีชาวลาวบางคนเรียกอนุสาวรีย์ หรือประตูชัยนี้ว่า “รันเวย์แนวตั้ง”
    ประตูชัยของลาวแห่งนี้ เปรียบเสมือนตัวแทนของการผสาน รูปแบบศิลปะทางสถาปัตยกรรม และความเชื่อของลาวกับฝรั่งเศส เพราะนอกจาก โครงสร้างที่เป็น เอกลักษณ์ตามการสร้างประตูชัย ของฝรั่งเศสแล้วยังมี การลงลาย กระจกแบบลาวที่ซุ้มประตูด้านใน ที่เป็นเหล่าเทวดา จากรามเกียรต์ ขอบซุ้มประตูเป็นเทพนม และ ยอดฉัตรด้านบนที่เป็นศิลปะลาว ...เดิมในการก่อสร้างครั้งแรกนั้น ยอดฉัตรด้านบนมิได้มีการสร้างขึ้น แต่หลังจากที่ฝรั่งเศสได้ปลดปล่อย ลาวจากอาณานิคมแล้วจึงได้มีการ ต่อเติมขึ้น1 ในอดีตประตูชัยแห่งนี้ ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีสวนสนาม ถวายสัตย์ปฏิญาณตนของทหาร ในวันชาติลาว โดยขบวนทหารจะ เดิน ลอดซุ้มประตูชัย ปัจจุบันย้ายไป ที่สนามวัดทาดหลวง เวียงจันทน์
    ด้านความเชื่อแล้ว  ผู้ร่วม ออกแบบชาวลาวได้ใช้หลักการ     3 อย่าง โดยใช้เลขมงคลคือ 3, 7 และ 8 เลข 3 นั้นหมายถึง พระพุทธ พระ
ธรรมและพระสงฆ์ เลข 7 หมายถึง 7 วันใน 1 สัปดาห์ ส่วนเลข 8 หมายถึง ทิศทั้ง 8
    ปัจจุบันประตูชัยเปิดให้ ขึ้นไปชมทัศนียภาพด้านบนได้ ระหว่างทางขึ้นจะมีสินค้าพื้นเมือง วางขายให้นักท่องเที่ยวได้ซื้อหา ทั้งเหรียญกษาปณ์ลาว ในปัจจุบัน ยกเลิกไปแล้วก็มีขายที่นี่
    ที่เวียงจันทน์นี้มีสถานที่ สำคัญเกี่ยวกับ
ประวัติศาสตร์ ของลาวอยู่มาก นอกจากประตูชัย ยังมีวัดทาดหลวง วัดสีสะเกด หอพระแก้ว ซึ่งเป็นพุทธสถานที่ สำคัญมากของลาว  นักท่องเที่ยว นิยมไปเยี่ยมชมเป็นจำนวนมาก และพุทธศาสนสถานของลาวนี้มี ระเบียบบังคับสำหรับสุภาพสตรี อย่างเคร่งครัด ดังนั้นควรศึกษา ข้อปฏิบัติให้ละเอียด ตามสถานที่ นั้นๆ ก่อนทุกครั้ง
    เมื่อลงมาจากประตูชัย ข้าพเจ้าเอ่ยกับโชเฟอร์ที่นั่งรออยู่ บริเวณที่จอดรถด้วยท่าทีอิดโรย และน่าสงสารว่า ร้อนและหิวมาก เนื่องด้วยตั้งแต่เมื่อคืนที่ออกเดินทางจนเวลาขณะนี้บ่ายโมงกว่า ยังไม่มีอะไรลงท้องเลยนอกจากน้ำเปล่าขวดละ 3,000 กีบ (ซื้อที่ ปั๊มน้ำมันขณะที่เท็กซี่แวะเติม
น้ำมัน) โชเฟอร์ยิ้มแหะๆ พร้อมกับบอก ว่าเขาก็หิวเหมือนกัน เขาจึงพาข้าพเจ้าไปตลาดเช้าที่อยู่ไม่ใกล้จาก ประตูชัยนัก ตลาดนี้สามารถเดินทะลุไปยังสถานีขนส่งเวียงจันทน์เก่า ให้บริการรถประจำทางสายตะวันออกและสายใต้ของลาว รวมทั้ง รถโดยสารปรับอากาศระหว่างประเทศไทย-ลาว โดยรถจะออกทุก 1 ชั่วโมง ปลายทางที่สถานีขนส่งจังหวัดหนองคาย หลังจากได้เฝอคนละ 1 ชามกับเบียร์ลาวอีกคนละ 1 กระป๋อง ก็ออกเดินทางไปวัดทาดหลวง

(Root) 2009717_50911.jpg(Root) 2009717_50900.jpg(Root) 2009717_50923.jpg
    วัดธาตุหลวงเวียงจันทน์
                                                                   อนุสาวรีย์พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชหน้าวัดธาตุหลวง

    เมื่อไปถึงวัดธาตุหลวงจะเห็นพระธาตุขนาดใหญ่ สีทองอร่ามสูง 45 เมตร รายล้อมด้วยพระธาตุองค์เล็กสีทองอีก 30 องค์ สร้างในสมัย พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช1 เมื่อพ.ศ. 2109 โดยสร้างครอบองค์ พระธาตุศรีธรรมโศก ซึ่งเป็นพระธาตุเก่าสมัยอาณาจักรศรีโคตรบอง ตั้งชื่อใหม่ว่า “พระธาตุโลกจุฬามณี” แต่ชาวลาวเรียก “พระธาตุหลวง”2 และทุกวันเพ็ญเดือน 12 ของทุกปีจะมีงานบุญฉลองพระธาตุ ชาวลาวและ ชาวไทยจะเดินทางมานมัสการองค์พระธาตุ ด้านหน้าองค์พระธาตุหลวงจะมีอนุสาวรีย์พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ซึ่งครองราชร่วมกับสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ แห่งกรุงศรีอยุธยา และพระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์ของพม่า มีพระราชมารดาคือพระนางยอดคำทิพย์ ราชธิดาของพระเจ้าเชียงใหม่ โดยพระองค์ทรงครองราชอาณาจักรล้านนาและล้านช้าง มีความสัมพันธ์อย่างดีกับกรุงศรีอยุธยา เคยมีการร่วมรบสู้กับพม่าและได้มีการสร้าง พระธาตุศรีสองรัก ระหว่างเขตแดนของทั้งสองอาณาจักร ปัจจุบันพระธาตุศรีสองรัก อยู่ในเขต อ.ด่านซ้าย จ.เลย เชื่อกันว่า หนุ่มสาวคู่ใดไปขอพรเกี่ยวกับความรักมักจะ ประสบผลสำเร็จทั้งสิ้น
    ชาวลาวทั้งที่เกิดในลาวหรือต่างประเทศ ต่างมีความเชื่อว่า ถ้าได้ชื่อว่าเป็นคนลาวมี 3 สิ่งใหญ่ๆ ที่ต้องทำคือ 1. นมัสการ สรงน้ำพระบาง ที่หลวงพระบาง 2. นมัสการพระธาตุหลวง ที่เวียงจันทน์ และ 3. เดินทางขึ้นปราสาทวัดพู ณ ภูเกล้า ที่จำปาสัก และทั้ง 3 สถานที่ดังกล่าวล้วนเป็นเมืองหลวงของประเทศลาวในอดีตและปัจจุบัน บางทีอาจจะการปลูกฝังไม่ให้ชาวลาวลืมอดีตของรากกำเนิดของตน

(Root) 2009717_41015.jpg(Root) 2009717_50866.jpg(Root) 2009717_40993.jpg(Root) 2009717_41004.jpg

วัดสีสะเกด                                            ภาพเขียนเมื่อ ค.ศ. 1882                                                         ขวาสุดคือหอไตร ได้รับอิทธิพลจากพม่า

    ข้าพเจ้าย้อนกลับมาถนนเชษฐาธิราช เพื่อไปวัดสีสะเกดเวลา 15.00 น. เพราะทางวัดเปิดให้ชมในเวลา 8.00-16.00 น.
    วัดนี้สร้างขึ้นในสมัยเจ้าอนุวงศ์ เมื่อ พ.ศ. 2361 เป็นศิลปะผสม ระหว่างล้านช้างกับรัตนโกสินทร์ และเป็นเพียงวัดเดียวที่ไม่ถูกเผาในปี พ.ศ. 2371 จากศึกนครเวียงจันทน์ ลักษณะเด่นของวัดนี้ คือ ตามผนัง ระเบียงที่ล้อมรอบสิมของวัดจะเจาะรูเป็นสามเหลี่ยม ประดิษฐาน พระดินเผาขนาดเล็กประมาณ 2,000 องศ์ ส่วนทิศตะวันตกของระเบียง เป็นที่รวบรวมโบราณพุทธวัตถุและ พระพุทธรูปที่ถูกทำลายใน พ.ศ. 2371 ด้านหลังสิมจะมีรางรดน้ำ รูปพญานาค งานไม้ควักแกะที่ผีมือ ประณีตตามแบบศิลปะเวียงจันทน์ โดยจะนำออกมาประกอบพิธี สรงน้ำในงานบุญสงกรานต์ ส่วนด้านที่วัดติดถนนล้านช้างจะมีหอไตร ใช้เก็บพระไตรปิฎก สร้างแบบศิลปะพม่า แสดงถึงการได้รับอิทธิพล หรือความสัมพันธ์กับ
พม่า ดังนั้นวัดสีสะเกดนี้จึงเป็นวัดที่มีศิลปะแบบ ผสมของลาว ไทยและพม่า นี่อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้วัดนี้ไม่ถูกเผา ทำลายในยามเกิดศึกสงครามที่เวียงจันทน์
    เมื่อเดินออกทางประตูหน้าของวัดถนนเชษฐาธิราช ฝั่งตรงข้าม จะเป็นหอพระแก้ว สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2322 ในสมัยพระไชยเชษฐาธิราช เพื่อใช้เป็นวัดหลวงและประดิษฐาน พระแก้วมรกต ต่อมาใน พ.ศ. 2371 ได้เกิดศึกสงครามใหญ่ระหว่างสยาม กับเวียงจันทน์ ได้มีการเผาทำลายวัด เป็นจำนวนมาก รวมทั้งวัดพระแก้ว จนเหลือแต่หอพระแก้วและมีการ บูรณะซ่อมแซม ในพ.ศ. 2380-88

หากมีเวลามากพอข้าพเจ้าก็อยากไปอนุสรณ์นักปฏิวัติ ที่เมืองไชทานี ซึ่งอยู่ไปทางใต้ของนครหลวงเวียงจันทน์ ประมาณ หลักที่ 25

(Root) 2009729_55719.jpg อนุสรณ์ นักปฏิวัติ(เลยสนามกีฬาแห่งชาติเวียงจันทน์) ภาพเมื่อ ก.ค.52(Root) 2010122_47288.gif

   เสร็จสิ้นการเดินทางของวันนี้ด้วยอาหารแบบชาวเวียงจันทน์ ที่ร้านค้าใกล้ๆ ที่พัก ซึ่งโชเฟอร์แนะนำว่ามีอาหารแบบเวียงจันทน์ ให้ลิ้มลอง ข้าพเจ้าลิ้มลองแกงอ่อมลาว ไก่ปิ้ง หมกปลาฟอก (ห่อหมกปลาบด) จ๊กข้าวเหนียวจากกระติ๊บ ปั้นเป็นก้อนพอดีคำ จิ้มหมกปลาฟอกพอติดเศษเนื้อปลาเข้าปาก รสชาติเผ็ดเล็กน้อย หอมกลิ่นมะพร้าวอ่อน รู้สึกหวานๆ อร่อยแปลกๆ นั่งแท็กซี่เดินทาง กับพี่โชเฟอร์มาทั้งวันมาทราบชื่อตอนเบียร์ลาวขวดที่ 2 หมดไป... “อ้ายคำ” บอกว่าพรุ่งนี้จะมารับข้าพเจ้าในตอนเช้าเวลา 7.00 น. เพื่อพาไปส่งที่สถานีขนส่งสายเหนือเต้สอง
    เรานั่งสนทนากันนานจนเบียร์หมดไปหลายจึงเลิกลากัน ข้าพเจ้าเรียกเจ้าของร้านมาไล่เงิน (คิดเงิน) ในขณะที่อ้ายคำคำนวณ ราคาและหารเงินกับข้าพเจ้า ครั้นบอกว่าข้าพเจ้าออกให้เขาก็ไม่ยอม เพราะบอกว่ากินด้วยกัน เมื่อเจ้าของร้านมาคำนวณก็ได้ราคาตรงกับ ที่คิดไว้ หลังจากนั้นอ้ายคำก็ขับแท็กซี่ไปส่งข้าพเจ้าถึงที่พัก
    คืนนั้นด้วยความเพลียข้าพเจ้าหลับโดยไว โดยเปิด “ลาวสตาร์ แชนแนว”1 ทิ้งไว้ รู้สึกตัวอีกทีก็เกือบ 7.00 น. ทำให้ต้องรีบอาบน้ำ เก็บข้าวของอย่างกุลีกุจอ พอลงไปรออ้ายคำก็สายไป 10 นาที ไม่เจออ้ายคำแล้ว จึงเดินโต๋เต๋หาน้ำกับข้าวจี่ (ขนมปังฝรั่งเศสใส้หมู) ยืนกินรอหน้าที่พักตั้งใจว่าถ้า 7.30 น. ถ้าอ้ายคำไม่มาก็จะหาแท็กซี่ คันอื่นไปส่ง แต่พอ 7.25 น. อ้ายคำก็มารับพร้อมกับผู้โดยสารชาวยุโรป ชายหญิง 2 คน นั่งอยู่ด้านหลังของรถ ข้าพเจ้าจึงนั่งคู่กับอ้ายคำ เหมือนเมื่อวาน อ้ายคำบอกว่าระหว่างที่จะมารับข้าพเจ้ามีผู้โดยสาร จะไปเต้สองเหมือนข้าพเจ้า ตกลงราคากันนานเลยช้า ...นั่งมาสักพัก เมื่อถามถึงราคาค่าโดยสารที่ข้าพเจ้าต้องจ่าย อ้ายคำบอกว่า... ไม่เก็บ เพราะเขามาช้าและมีลูกค้ามาด้วย ...แล้วก็ยิ้มให้ข้าพเจ้า แล้วก็ชี้ให้ดู โรงงานเบียร์ลาวทางขวามือ


  เบียร์ลาว เบียร์เหรียญคำของคนลาว(Root) 2010122_47288.gif

    เมื่อถึงสถานีขนส่ง อ้ายคำรับค่าโดยสารจากชาวยุโรปแล้ว เดินมาส่งข้าพเจ้าถึงโต๊ะขายปี๋ (ตั๋ว) ซึ่งข้าพเจ้าได้รถในเวลา 8.00 น. ซึ่งมีเวลาเล็กน้อยพอที่จะหาอะไรกินรองท้องก่อน จึงชวนอ้ายคำไปกิน ข้าวเปียกคนละชาม แล้วจึงแยกย้ายกัน
    ข้าพเจ้าเลือกนั่งทางริมหน้าต่างฝั่งซ้ายของรถ V.I.P. พนักงาน ของรถโยนถุงบรรจุสินค้าหลายใบโตขึ้นบนหลังรถ โดยมีพนักงาน อีกคนคอยรับและจัดวางผูกมัดให้แน่นหนา เมื่อรถเคลื่อนออกมาสักพัก พนักงานเดินแจกขนมขบเคี้ยวกับน้ำดื่ม พร้อมยิ้มที่มุมปาก และทักว่า “มาเที่ยวเหรอ” ข้าพเจ้ายิ้มรับตอบ รถเที่ยวนี้มีผู้โดยสารไม่มากนัก มีสาวชาวลาวนั่งข้างข้าพเจ้าเธอเป็นชาวม้ง แต่เข้าใจในภาษาลาว และไทยพอสมควร เธอยิ้มให้ข้าพเจ้า อย่างไมตรี และทักด้วยน้ำเสียง เบาๆ ว่า “สะบายดี” ข้าพเจ้าก็ยิ้ม พร้อมกล่าว “สบายดี” กลับไป
    รถเคลื่อนตัวไปตามถนน หมายเลข 13 ไม่นานก็พ้นเขตเมือง บ้านเรือนเริ่มปลูกห่างกัน รถที่วิ่ง สวนทางก็ลดจำนวนลงจนเริ่มขาด ระยะไป ข้าพเจ้าหยิบกล้องดิจิตอล มาไล่ดูรูปที่ถ่ายดูเพลินๆ    
    เธอชะเง้อมาชมภาพพร้อมกับถามชื่อสถานที่ ข้าพเจ้าจึง อธิบายคร่าวๆ ว่าเป็นภาพที่ไหน เธอชี้ไปที่ภูเขาลูกไกลๆ ซึ่งไม่ใหญ่นัก พร้อมกับบอกว่า “ภูพระ” ความเป็นมาของชื่อนั้นเธออธิบายไม่ได้ แต่บอกได้เพียงแค่รถกำลังแล่นสู่เมืองโพนโฮง (3ro3I’) ทำให้นึกถึง เพลง “ฮักสาวโพนโฮง” แต่งโดย ส. บัวละพัน ที่มีนักร้องไทยหลายท่าน นำมาร้อง ...ไหนๆ ก็ผ่านเมืองโพนโฮงข้าพเจ้าก็ส่ายสายตาออกไป นอกหน้าต่าง เสาะหาสาวโพนโฮงว่างามดั่งในเนื้อเพลงหรือเปล่า...
    ถนนหมายเลข 13 ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทแห่งหนึ่งของ เวียดนามเมื่อปี พ.ศ. 2540 เป็นถนนลูกรังและราดยางบางช่วง จนปี พ.ศ. 2550 ถนนที่ตัดผ่านบนภูเขาเริ่มชำรุด เป็นหลุม เป็นบ่อ เพราะโดน น้ำเซาะหรือดินโคลนถล่มบ้าง และทางการจะทำการซ่อมทุกๆ ฤดูแล้ง แต่ก่อนการเดินทางระหว่างเวียงจันทน์มายังหลวงพระบางหรือทาง ตอนเหนือของลาวต้องใช้เวลานานหลายวัน หลังจากมีการสร้างถนน หมายเลข 13 นี้ ทำให้การเดินทางไป-มา สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น และถือว่า ถนนสายนี้เป็นเส้นเลือดใหญ่ของการลำเลียงสินค้าไปสู่ทางตอนเหนือ ของลาว รวมทั้งขนส่งสินค้าจีนมายังเวียงจันทน์ และอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ทางการจีนก็จะเข้ามาสร้างนิคมอุตสาหกรรมในแขวงหลวงพระบาง แต่จะเป็นที่เมืองอะไรและอุตสาหกรรมอะไรนั้นต้องติดตามกันต่อไป
    รถแล่นผ่านโพนโฮงเข้าสู่บ้านหินเหิบ สังเกตจากสะพานเหล็ก ขนาดยาว แต่แคบรถไม่สามารถวิ่งสวนกันได้ข้ามลำน้ำเซือง เมื่อมอง ลงไปจะเห็นโขดหินมากมายในยามน้ำลง ชาวบ้านในแถบนี้จะหาปลา มาวางขายข้างทาง ส่วนมากจะเป็นปลาตัวโตสีดำสนิท เธอบอกข้าพเจ้า ว่าชาวลาวเรียกปลาชนิดนี้ว่า “ปลากวน” ส่วนมากจะนำมาต้มใส่ผัก และหมากเผ็ดทุบ (พริกสด) กินร้อนๆ อร่อยมาก เนื้อปลาจะนุ่มไม่คาว ปลากวนเป็นปลาหนังที่ขนาดใหญ่บางตัวหนักถึง 2 กิโลกรัม บ้างนำมา ตากแห้งเป็นปลาเค็ม      
(Root) 2009729_55697.jpg ถนนระหว่างทาง
    ตามประวัติศาสตร์ของการ ปฏิวัติในลาว บ้านหินเหิบถือเป็นจุด สำคัญของสมรภูมิรบครั้งนั้น เพราะ เมื่อสะพานที่หินเหิบได้ถูกทำลายลง ทหารฝ่ายซ้ายต้องขึงลวดสลิง ข้าม “ลำน้ำบาก” ที่บ้านหินเหิบไปทีละคน จึงเป็นจุดยุทธศาสตร์หลักของการ ขนส่งกำลังทหารและเสบียงจาก เชียงขวางและวังเวียงสู่เวียงจันทน์
    รถวิ่งเข้าสู่อ่างเก็บน้ำใหญ่ ทางขวามือ ข้าพเจ้าอ่านได้ความว่า “อ่างเก็บน้ำเหนือ เขื่อนน้ำงึม” มีเรือ หลายลำลอยเหนือผิวน้ำ ชายทอดแห หลายคน เรือหลายลำจอดที่ท่าเรือ ชาวบ้านในละแวกนี้เรียกว่า “บ้าน ท่าเรือ”
    ไม่นานเราจะเห็นโรงงาน ปูนซีเมนต์ที่มีชาวจีนเข้ามาลงทุน ข้าพเจ้าคิดว่าในอนาคต ถ้าพัฒนา คุณภาพได้ทัดเทียมกับไทยบางที โรงงานแห่งนี้อาจเป็นคู่ค้าปูนสำคัญ แข่งกับปูนจากไทยเป็นแน่ เพราะ ประเทศลาวกำลังพัฒนาประเทศ และมีโครงการที่จะก่อสร้างอาคาร บ้านเรือนอีกมาก
   
    อีกนานกว่าจะถึงกาสีเพื่อหยุดพักกินอาหารและยืดเส้น ยืดสาย  ต่อมา หลายอีกอึดใจใหญ่ข้าพเจ้าก็เดินทางมาถึงวังเวียง ดินแดนที่เคย เป็นสถานที่ตากอากาศ... เอ้ยฐานทัพอเมริกาในสมัยสงครามอินโดจีน
    ในอดีต วังเวียงเคยเป็นสถานที่ตั้งของกองทัพทหารอเมริกา ซึ่งมีหลักฐานชัดเจนคือสนามบิน ข้าพเจ้าไม่เคยหยุดเที่ยวชมที่วังเวียง เลยสักครั้ง และไม่เคยคิดที่จะแวะดินแดนที่นักท่องเที่ยวชาวไทยเรียก ดินแดนแห่งนี้ว่า ปาย สุดท้ายข้าพเจ้าเลยไม่ได้เที่ยวชม ถ้ำจัง สะพาน- แขวนสีแดง และที่สำคัญไม่ได้มีโอกาสลองผลิตภัณท์พื้นเมืองอันเป็น ที่เชิดหน้าชูตาของวังเวียง...? แล้วบทเพลงกระท่อมกัญชา...! ทำนองเก่า คือ กระท่อมไพรวัลย์ โดย อ. ชาญชัย บัวบังศร ที่นำมาดัดแปลงใหม่ และร้องหลายท่าน เช่น คำรณ มัมบุณณานนท์ แอ๊ด คาราบาว และ
ล่าสุดคือ อ.คฑาวุธ ทองไทย นักร้องนำแห่งวงมาลีฮวนน่า...


   

ลำน้ำซองที่ไหลผ่านวังเวียง ทำให้เมืองแห่งนี้ไม่เคยเงียบเหงา จากอดีตที่เคยใช้เป็นฐานทัพของทหารอเมริกัน ปัจจุบันเป็นสถานที่ พักตากอากาศที่มีนักท่องเที่ยวที่ต้องการหาดินแดนอันเงียบสงบ ท่ามกลางธรรมชาติของขุนเขา สายน้ำและม่านหมอก ขณะที่รถหยุด แวะให้นักท่องเที่ยวลงและขึ้นที่วังเวียง ชาวยุโรปชาย-หญิง 2 คน ที่นั่ง แท็กซี่ของอ้ายคำก็ลงที่นี่ด้วยเช่นกัน พลันสายตาของข้าพเจ้าก็เห็น สาวยิปซี 2 คนเดินไม่สวมรองเท้า ในชุดกระโปรงพลิ้วบางสีสันฉูดฉาด อย่างสบายใจอยู่ข้างทาง ทำให้นึกถึง “One Hundred Years of Solitude” (100 ปีแห่งความโดดเดี่ยว) ของ กาเบรียล การ์เซีย มาร์เควซ นักเขียน ละตินเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ที่เขียนถึงประเพณี และสมัยนิยม เรื่องโกหกกับเรื่องจริง เพราะภาพเบื้องหน้าที่ข้าพเจ้า ได้เห็นนั้น คือ อิสระของมนุษย์หลากหลายเชื่อชาติ ผิวพรรณ ศาสนา มารวมตัวอยู่ในสถานที่ที่มีธรรมชาติอันสวยบริสุทธิ์
    นั่งรถชมการทำนาแบบขั้นบันไดเพลินๆ ก็คิดย้อนไปถึงวิธี เอาชนะธรรมชาติของมนุชยชาติในอดีตที่นำดินมาคั่นกักเก็บน้ำจน สามารถปลูกข้าวตามไหล่เขาได้    
    ไม่นานทางฝั่งซ้ายก็จะเห็น หินขนาดใหญ่ตั้งเด่นอยู่กลางทุ่งนา ชาวลาวแถวนี้เรียกว่า “ผาตั้ง” แห่งบ้านหินตั้ง แสดงว่าอีกไม่นาน ข้าพเจ้าจะได้ลงรถคลายเส้นเอ็น ที่เริ่มล้าจากการนั่งรถเป็นเวลานาน เพื่อหยุดพักรับประทานอาหารที่ เมืองกาสี ในขณะเดียวกัน สาวม้ง ก็ชี้ให้ดู “ภูอ้าปาก” ทางฝั่งขวาของรถ ตอนแรกข้าพเจ้าก็งงๆ แต่เมื่อมอง นานๆ จึงสังเกตเห็นภูเขาน้อยๆ หลายลูกรวมตัวกันเรียงเป็นภาพ คล้ายกับผู้ชายนอนอ้าปาก วางมือ ไว้ที่หน้าท้อง

(Root) 201015_51900.jpg
    “เข้าส้วม กิ๋นข้าว กิ๋นน้ำกัน” เสียงพนักงานบนรถร้องบอก ผู้โดยสาร มีชาวลาวหลายคนขบขันกับประโยคของพนักงานที่ว่า ให้ไปเข้าห้องน้ำ กินข้าว กินน้ำ...!!    
    รถจอดพัก 30 นาทีเพื่อรับประทานอาหาร เข้าห้องน้ำ อาหารที่เมืองกาสี นักท่องเที่ยวชาวไทยหลายคนถูกใจมาก เพราะ ทางร้านสามารถทำอาหารตามสั่งได้ เช่น ผัดกะเพรา แต่อาจได้ช้า หรือรสชาติอาจไม่ร้อนแรงนัก และมีข้าวราดแกงแบบอาหารลาว ให้เลือกหลายเมนู ข้าพเจ้าเลือก เฝอวัวเหมือนเดิม ...ดูเหมือนว่า ข้าพเจ้าจะเลือกกินแต่เฝอ เนื่องจาก เป็นของร้อนที่ดูจะถูกหลักอนามัย  เหมาะสำหรับผู้เดินทางต่างแดน เผื่อมีปัญหาเรื่องอาหารผิดท้อง...  ถ้าข้าพเจ้าไม่เลือกเฝอคงต้องขบ ขนมปังฝรั่งเศสจิ้มเนยเค็มที่ดูแห้ง แข็ง กระด้างและขื่นคอ... (สังเกต จากสีหน้าชาวสแกนดิเนเวียน 3 คน  ที่ฝืนกินเพื่อรองท้อง)
    เส้นทางที่ข้าพเจ้าจะต้อง เดินทางต่อไปนั้นเรียกได้เต็มปากว่า ทรหดมาก เพราะต้องไต่ไปตามไหล่ เขาอันคดเคี้ยว บางช่วงอันตรายมาก เพราะเป็นโค้งหักศอกและมี  เหวลึกเป็นแนวถนน
    รถแล่นขึ้นภูเขาลูกหนึ่งผ่านหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ที่สร้างบ้านอยู่ ริมถนน ข้าพเจ้าเห็นรถตักดินและเจ้าหน้าที่กำลังเดินตรวจรังวัด ต่อมาเมื่อสืบค้นข้อมูลภายหลัง ทราบว่า ทางการลาวกำลังเร่งก่อสร้าง ถนนอีกสายที่ไม่ต้องขึ้นเขาสูงเบื้องหน้า ...ซึ่งเป็นแนวแบ่งเขตแขวง เวียงจันทน์กับแขวงหลวงพระบาง


(Root) 2009729_55648.jpg  เส้นทางบนเทือกเขาหลวงพระบาง ที่มองเห็นหมอกเมฆด้านล่าง
(Root) 2010122_47288.gif

 2 ชั่วโมงต่อมา รถเข้าเขตเงาฝนภูเขา อากาศเบาบาง จนหูอื้อ รถจอดให้เข้าห้องน้ำธรรมชาติ ...ริมถนน..! ที่ตลาดริมทางบ้านม้ง สินค้าที่ชาวม้งนำมาขายนั้นส่วนมากเป็นสินค้าทางการเกษตร เช่น ฟัก แฟง แตง ฟักทอง ข้าวโพด บ้างก็กล้วยไม้ป่า ข้าพเจ้าสะดุดตา คือ ดอกทานตะวันทั้งดอกที่มีเมล็ดแห้งเต็มดอกวางขาย... มีเสียงเอะอะ ดังขึ้นที่ประตูรถ เพราะมีคนเหยียบกับระเบิด (อึ) พนักงานของรถ จึงส่งขวดน้ำให้ล้างรองเท้าก่อนขึ้นรถ...!
    แดดเริ่มอ่อนแรงลง และหลบหลังยอดเขาสูง แสงสีส้มอมม่วง แทรกลอดเมฆ เป็นทางยาวผ่านละอองฝนภูเขาเกิดเป็นโค้งรุ้งกินน้ำ โดยมีจุดโค้งของรุ้นสิ้นสุดลง ณ จินตนาการอันเป็นนิรันดร์ เหมือน งานภาพเขียนที่บรรจงสร้างสรรค์ โดยภู่กันของจิตรกรผู้ยิ่งใหญ่ไร้นาม แห่งเทือกเขาหลวงพระบาง
    รถหยุดพักอีกครั้งเมื่อถึงเมืองภูคูน มีตลาด โรงแรมและ เรือนพักชั่วคราวสำหรับผู้ที่ประสงค์จะเดินทางไปชมทุ่งไหหินที่ แขวงเชียงขวาง ภูคูนนี้จึงถือว่าเป็นประตูสู่เมืองหลวงพระบาง


(Root) 2009729_55671.jpg  ตลาดที่เมืองพูคูน ที่แสนยะเยือกด้วยเงาฝน
(Root) 2010122_47288.gif

 เมื่อนั่งรถต่อไปอีกประมาณ 30 กิโลเมตร ...ประมาณ 1 ชั่วโมง เนื่องจากเป็นเส้นทางบนภูเขาที่สูงชันมาก ก็จะถึงเมืองเชียงเงิน หากมาในยามเย็นหรือค่ำแล้ว จะสามารถมองเห็นแสงไฟจากเมือง เชียงเงินที่อยู่ลึกลงไปในหุบเขาสูง เหมือนเมืองตุ๊กตาในเทพนิยาย ไม่นานก็จะเห็นลำน้ำคานที่ไหลใกล้ๆ กับเมืองเชียงเงิน และนั่นคือ การบอกว่าอีกประมาณ 30 นาที เราก็จะเข้าสู่หลวงพระบางแล้ว
    ข้าพเจ้าตรวจสิ่งของต่างๆ เพื่อพร้อมลงรถและเดินทางต่อ สักครู่ใหญ่ทางฝั่งซ้ายของรถก็แล่นผ่านโรงปั่นไฟฟ้า หลวงพระบาง พนักงานของรถร้องบอกผู้โดยสารให้ตรวจตราสัมภาระ เตรียมตัวลง
    “หลวงพะบางๆ เกียมโต๋ๆ กวดกาเคื่องกะเป๋าให้เฮียบฮ้อย เคื่องผู้ใด๋ยู่บนหลังคา อย่าลืมนะ บ่เอาไปส่งที่เฮือนนะ” (หลวงพระบางๆ เตรียมตัวๆ ตรวจตราสิ่งของ กระเป๋าให้เรียบร้อย สิ่งของใครอยู่บน หลังคา อย่าลืมนะ ไม่เอาไปส่งที่เรือนนะ) สิ้นสุดเสียงร้องบอกก็เรียกยิ้ม
ได้จากชาวลาวหลายคนบนรถ รวมทั้งเธอที่นั่งข้างๆ ข้าพเจ้า...
    ก่อนสิ้นสุดการเดินทางครั้งนี้ข้าพเจ้าลืมบอกไปว่าบนรถ ประจำทางจะมีทหารประจำรถ 1-2 คนโดยมีปืน นั่งไปด้วย ...เนื่องจาก ในบ
างช่วงของเส้นทางอาจมีผู้ไม่หวังดี...!

เต้นบาสสะโลบ แบบชาวลาว  (Root) 2010122_47288.gif                                        (Root) 2009721_58795.gif

(Root) 2009717_49270.jpg

เทือกเขาหลวงพระบางระหว่างเมือนพูคูนไปหลวงพระบาง

Advertising Zone    Close
ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...