walker นักเดินทางด้วยเท้า

 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  |  
 ตะกร้าสินค้า (0)


รอบรู้เมืองลาว    เวียงจันทน์   ตำนานโขง  หลวงพระบาง  งานแข่งเรือ  วัดต่างๆ ในหลวงพระบาง  จำปาสัก    โปรแกรมเที่ยวหลวงพระบาง (Root) 2010122_47288.gif 

 

(Root) 2009729_55733.jpg เด็กน้อย หัวเราะระเริงรื่น

เชียงราย

<object width="320" height="240" ><param name="allowfullscreen" value="true" /><param name="allowscriptaccess" value="always" /><param name="movie" value="http://www.facebook.com/v/114278211940080" /><embed src="http://www.facebook.com/v/114278211940080" type="application/x-shockwave-flash" allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true" width="320" height="240"></embed></object>

เมืองน่าน  
ข้าพเจ้าเดินทางไปหลวงพระบางมาหลายครั้งจนจำลักษณะของวัดเซียงทอง ศิลปะล้านซ้าง(ช้าง)ที่มีเอกลักษณะเฉพาะ หลังคาทรงปีกนกของสิมนั้นข้าพเจ้าจำได้จนติดตา แล้ววันหนึ่งในงานมหกรรมหนังสือที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ข้าพเจ้าเฉียดไปแถวร้านหนังสือของกรมศิลปากร สะดุดตากับหัวหนังสือว่า “บันทึกการเดินทางแม่น้ำโขงตอนบน ประเทศสยาม บันทึกโดย สมิธ, เฮอร์เบิร์ท วาริงตัน” แล้วก็ควักกระเป๋าหยิบธนบัตรขึ้นมาทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันตามกฎหมายเป็นที่เรียบร้อยโดยไม่ได้พินิจเนื้อหาภายในเล่มเลย
ถึงบ้านเปิดอ่านเพลินๆ ก็ตะขวงใจในภาพเขียนฝรั่งว่าเป็นวัดหนึ่งขณะเดินทางไปถึงจังหวัดน่าน ข้าพเจ้าหลงทึกทักว่าน่าจะลงภาพผิดหรืออาจเป็นเพราะบันทึกคลาดเคลื่อน แต่พอได้ตรวจเช็คอย่างจริงจังด้วยระบบโยงใยแมงมุงสากลก็ได้ความว่าเป็น ภาพวัดบุญยืน นี่แหละหนา...ทำให้ต้องมาดูกับตาตัวเอง
ถึงแม้โบสถ์ของวัดจะไม่โค้งเป็นปีกนกเหมือนที่วัดเซียงทองที่หลวงพระบางนัก แต่ก็โค้งน้อยๆ...บ้างว่าเป็นศิลปะที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะล้านนาผสมพม่าเหมือนวัดพระสิงห์ที่เชียงใหม่ ซึ่งข้าพเจ้าก็ได้ไปมาแล้วเช่นกัน ยิ่งศึกษายิ่งยุ่งเหยิง อิรุงตุงนัง มั่วไปหมด โอ้ยปวดเกศ...ไม่ได้เรียนมาทางนี้โดยตรงงงๆ งึกๆ งักๆ
เอาเป็นว่าข้าพเจ้าได้ไปดูมาแล้วเห็นเต็ม 2 ตา ว่าคล้ายกัน

วัดบุญยืน เป็นวัดเก่าแก่มีอายุหลายร้อยปี ตามตำนานกล่าวว่า สร้างขึ้นคู่กับการสร้างเวียงป้อโดยพระยาป้อ เดิมเป็นสำนักสงฆ์เล็กๆ
ชื่อว่าวัดบุญนะ ตั้งอยู่ที่ตลาดสด เมืองสา (เวียงสาในปัจจุบัน) ต่อมาเมื่อพุทธศักราช ๒๓๒๙ บรรดาเสนาอำมาตย์และชาวบ้านเห็นว่า
พื้นที่ตั้งวัดคับแคบเกินไปจึงมีมติให้ย้ายมาตั้งใหม่ในพื้นที่ปัจจุบันและมีชื่อเรียกว่า "วัดป่าสักงาม" เนื่องจากใช้ไม้สักสร้างกุฏิ
และพระวิหาร พุทธศักราช 2340 เจ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน ได้สร้างพระอุโบสถขึ้น และในปีพุทธศักราช 2343
ทรงโปรดให้สร้างพระพุทธรูปประทับยืนทางเปิดโลก เพื่อเป็นพระประธานในพระอุโบสถ ชาวบ้านจึงเรียกวัดแห่งนี้ว่า "วัดบุญยืน" พระประธานวัดบุญยืน เป็นพระพุทธรูปประทับยืน ปางเปิดโลก พระกรทิ้งแนบลำตัว วัสดุปูนปั้นปิดทอง สูง 5 เมตร สร้างขึ้นเมื่อปูน พุทธศักราช 2343 โดยเจ้าอัตถาวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน บริเวณหน้าจั่วเหนือ องค์พระสร้างเป็นแบบน้ำแต้ม สายดำปรากฏ
เป็นรูปพระปางไสยาสน์ และพระปางสมาธิอยู่ใต้ต้นโพธิ์ ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถลักษณะก่ออิฐถือปูนแบบโบราณ โดยองค์พระได้รับอิทธิพลมาจากสุโขทัย ลักษณะของเสาภายในที่มีลักษณะกลมใหญ่ทาสีแดง โคนเสาสูงจากพื้นประมาณ 1 เมตร มีลายปูนปั้น
เป็นรูปเครือเถาวัลย์และรูปสัตว์ในป่าหิมพานต์ อาทิ ครุฑ กินนรี สิงห์ นรสิงห์ เสือ และอื่นๆ
หมายเหตุ ข้อมูลจากสูจิบัตรหน้าโบสถ์ วัดบุญยืน


(Root) 201014_43816.jpg วัดบุญยืน

(Root) 2009730_62150.jpg วัดเซียงทอง(Root) 201014_48550.jpg วัดพระสิงห์

ไหนๆ ก็มาอำเภอเวียงสา จังหวัดน่านกันแล้วเราก็เข้าไปในตัวจังหวัดกันดีกว่า ห่างจากอำเภอเวียงสาแค่25 กิโลเมตรเองระหว่างนั่งรถก็อธิบายประวัดนครน่านให้ฟังคร่าวๆ
ตามลิ้งค์นี้เลยครับพี่น้องครับ...! http://www.nan2day.com/info/hinfo1.html


น่านเป็นนครรัฐเล็ก ๆ ก่อตัวขึ้นราวกลางพุทธศตวรรษที่ 18 บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำน่าน และแม่น้ำสาขา ในหุบเขา ทางตะวันออกของภาคเหนือ ถึงแม้จะร้างผู้คนบ้างบางช่วง แต่สุดท้ายก็เป็นที่สงสัยว่านี่คือชนชาติต้นกำเนิดของชาวไทยหรือเปล่า...? หากไม่ใช่ก็ใช่ว่าจะเป็นชาวจีนที่อพยพมาจากยูนาน หรืออยู่มานาน ...งงอีกแล้ว ข้าพเจ้ามีโอกาสได้นั่งสนทนากับชาวเมืองปัวที่ร้านกาแฟเล็กๆ ที่เมืองเวียงสา (โอ้โห ...ชาวปัว มีต้นตะกูล หน่อเนื้อเก่าแก่ที่สุดของสยามประเทศที่มีหลักฐานชัดเจน) พูดไทยกลางได้ชัดเจน อู้กำเมืองได้แคล่วคล่อง แต่เวลาคุยกันเองข้าพเจ้าฟังไม่ชัดหรือแทบจะเรียกฟังไม่ออกเลยก็ได้ ประมาณว่าเป็นภาษาถิ่น เมื่อเดินเข้าพิพิธภัณฑ์น่าน (คุ้มเจ้านครน่านเดิม) ก็ทราบว่ามีคำว่า “ชาวถิ่น”  คือ ชนดั้งเดิม โห...อะไรจะยุ่งซับซ้อน เอาว่าเราเข้าไปวัดภูมินทร์ในตัวเมืองน่านเลยดีกว่า
วัดภูมินทร์
อยู่ในอำเภอเมือง อยู่ใกล้กับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน เป็นวัดที่มีลักษณะแปลกกว่าวัดอื่นๆ คือ โบสถ์และวิหารสร้างเป็นอาคารหลังเดียวกัน ประตูไม้ทั้งสี่ทิศแกะสลักลวดลายงดงามโดยฝีมือช่างล้านนาไทย นอกจากนี้ ฝาผนังภายในวิหารยังมีจิตรกรรมฝาผนังแสดงถึงชีวิตและวัฒนธรรมของยุคสมัยที่ ผ่านมา ตามพงศาวดารของเมืองน่าน วัดภูมินทร์สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2139 โดยพระเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์เจ้าผู้ครองนครน่าน ได้สร้างขึ้นหลังจากที่ครองนครน่านผ่านได้ 6 ปี มีปรากฏในคัมภีร์เมืองเหนือว่า เดิมชื่อ วัดพรหมมินทร์ ซึ่งเป็นชื่อของเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ ผู้สร้างวัด แต่ตอนหลังชื่อวัดได้เพี้ยนไปจากเดิมเป็นวัดภูมินทร์ดังกล่าว
พระประธานจตุรพักตร์ ความสวยแปลกของวัดภูมินทร์ที่ไม่เหมือนใคร เป็นหนึ่งเดียวในเมืองไทยคือ เป็นพระอุโบสถทรงจตุรมุขพระประธานจตุรพักตร์ นาคสะดุ้งขนาดใหญ่แห่แหนพระอุโบสถเทินไว้กลางลำตัวนาคพระอุโบสถจตุรมุข กรมศิลปากรได้สันนิษฐานว่าเป็นอุโบสถจตุรมุขหลังแรกของประเทศไทย ตรงใจกลางพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ 4 องค์ หันพระพักตร์ออกด้านประตูทั้งสี่ทิศ หันเบื้องพระปฤษฎางค์ชนกัน ประทับนั่งบนฐานชุกชี เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ผู้ที่ไปชมความงามของพระอุโบสถนี้ ไม่ว่าขึ้นบันไดไปทางทิศไหนจะพบพระพักตร์พระพุทธรูปทุกด้าน

วัด ภูมินทร์ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่เมื่อปี พ.ศ. 2410 หลังจากที่สร้างมาได้ 271 ปี โดยพระเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าผู้ครองนครน่านโปรดให้ซ่อมแซมครั้งใหญ่ แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2418 ใช้เวลาซ่อมแซมนานถึง 9 ปี กรมศิลปากรสันนิษฐานว่า ภาพจิตรกรรมฝาผนังคงจะวาดในสมัยที่ซ่อมแซมครั้งใหญ่นี้ สำหรับช่างผู้วาดนั้นไม่ปรากฏประวัติ ทราบแต่ว่าเป็นศิลปกรรมแบบชาวไทยลื้อ ภาพเขียนนี้อายุประมาณเกือบ150 ปีนี้ได้ชำรุดร่อนกระเทาะไปบ้างตามเวลาแต่ยังงก็คือภาพที่บอกถึงวิถีของชาว น่านในช่วงเวลานั้นน่าทึ่งครับเพราะว่าได้มีการติดต่อกับฝรั่งแล้ว...

งาน จิตรกรรมฝาผนังแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ แสดงเรื่องชาดก วิถีชีวิตตำนานพื้นบ้าน และความเป็นอยู่ของชาวน่านในอดีต ได้แก่ การแต่งกายคล้ายผ้าซิ่นลายน้ำไหล ...พบเห็นได้หลายจังหวัดทางเหนือเช่นที่พะเยา ลำปาง เชียงราย หรือในแขวงไซยะบุลีของสปป.ลาว... ภาพแสดงการทอผ้าด้วยกี่ทอมือ การติดต่อซื้อขายกับชาวต่างชาติ ซึ่งเป็น ภาพจิตรกรรมฝาผนังอันเลื่องชื่อไปทั่วประเทศและเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะนคร น่าน
เอาเท่านี้ก่อนนะครับ...เหนื่อย 555+

(Root) 201014_45734.jpg วัดภูมินทร์


(Root) 201014_45780.jpg พระพุทธรูปปางมารวิชัย 4 พระองค์

(Root) 201014_45827.jpg ภาพเขียนโดยชาวไทลื้อ ภายในโบสถ์วัดภูมินทร์

(Root) 201014_45837.jpg


(Root) 201014_45796.jpg

(Root) 201014_59710.jpg แบงค์ 1 บาทมีภาพวัดภูมินทร์

(Root) 201014_45765.jpg

(Root) 201014_45749.jpg

พิษณุโลก

อยุธยา

หนองคาย

นครพนม

(Root) 2009728_59367.jpg(Root) 2009728_59354.jpg(Root) 2009728_59341.jpg

พระธาตุพนม นครพนม


    พระธาตุพนม หรือธาตุปะนม ตามแผ่นทองจารึกในสมัย เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กแห่งนครเวียงจันทน์ บูรณะใน พ.ศ. 2236 - 45 เป็นพุทธเจดีย์ที่บรรจุพระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนพระอุระ) ขององค์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีรูปทรงสี่เหลี่ยม สูงจากระดับพื้นดิน 53 เมตร และฉัตรทองคำสูง 4 เมตร รวมเป็น 57 เมตร ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม สถานที่ประดิษฐานองค์พระธาตุ อยู่บนภูกำพร้า หรือดอยกำพร้า1 อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ห่างจากแม่น้ำโขงประมาณ 500 เมตร และห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 800 กิโลเมตร
    ตามตำนานพระธาตุพนม ในอุรังคนิทานกล่าวว่า สมัยหนึ่งใน ปัจฉิมโพธิกาล พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระอานนท์ ได้เสด็จมาทาง ทิศตะวันออก โดยทางอากาศ (เหาะ) ได้มาลงที่ดอนกอนเนา แล้วเสด็จ ไปหนองคันแทเสื้อน้ำ (เวียงจันทน์) ได้พยากรณ์ไว้ว่า ในอนาคตจะเกิด บ้านเมืองใหญ่และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนา จากนั้นได้เสด็จ ไปตามลำดับ โดยได้ทรงประทานรอยพระพุทธบาทไว้ที่ โพนฉัน (พระบาทโพนฉัน) อยู่ตรงข้ามอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย แล้วเสด็จมาที่พระบาทเวินปลา ซึ่งอยู่เหนือเมืองนครพนมปัจจุบัน ได้ทรงพยากรณ์ที่ตั้งเมืองมรุกขนคร (นครพนม) และได้ประทับพักแรม ที่ภูกำพร้าหนึ่งคืน วันรุ่งขึ้นเสด็จข้ามแม่น้ำโขง ไปบิณฑบาตที่ เมืองศรีโคตบูร พักอยู่ที่ร่มต้นฮัง (ต้นสาละ) ต้นหนึ่ง (พระธาตุอิงฮัง เมืองสะหวันเขด) แล้วกลับมาทำภัตกิจ (ฉันอาหาร) ที่ภูกำพร้า
    คราวนั้นพญาอินทร์ได้เสด็จมาเฝ้าและทูลถามพระพุทธองค์ ถึงเหตุที่มาประทับที่ภูกำพร้า พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า เป็นประเพณี ของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ ในภัททกัลป์ที่นิพพานไปแล้ว บรรดา สาวกจะนำพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ที่ภูกำพร้านี้ ต่อมาเมื่อ พระพุทธเจ้าเสด็จนิพพานแล้ว พระมหากัสสปะ ผู้เป็นสาวกจะนำ พระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ ณ ที่นี้ จากนั้นพระพุทธองค์ ก็ได้ทรงปรารภถึงเมืองศรีโคตบูร และมรุกขนคร แล้วเสด็จไป หนองหารหลวง ได้ทรงเทศนาโปรดพญาสุวรรณพิงคาระ และพระเทวี ประทานรอยพระพุทธบาทไว้ ณ ที่นั้น แล้วเสด็จกลับพระเชตวัน หลังจากนั้นก็เสด็จปรินิพพานที่เมืองกุสินารา
    เมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว มัลลกษัตริย์ทั้งหลาย ได้ถวายพระเพลิงพระสรีระ แต่ไม่สำเร็จจนเมื่อพระมหากัสสปะมาถึง ได้อธิษฐานว่า
    พระธาตุองค์ใดที่จะอัญเชิญไปประดิษฐานที่ภูกำพร้า ขอพระธาตุองค์นั้นเสด็จมาอยู่บนฝ่ามือ ดังนี้แล้ว พระอุรังคธาตุ ก็เสด็จมาอยู่บนฝ่ามือขวาของพระมหากัสสปะ ขณะนั้นไฟธาตุจึง ลุกขึ้นโชติช่วง เผาพระสรีระได้เองเป็นอัศจรรย์  เมื่อถวายพระเพลิงและ แจกพระบรมสารีริกธาตุเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระมหากัสสปะพร้อมด้วย พระอรหันต์ 500 องค์ ก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุ มาทางอากาศ แล้วมาลงที่ดอยแท่น (ภูเพ็กในปัจจุบัน) จากนั้นได้ไปบิณฑบาต ที่เมืองหนองหารหลวง เพื่อบอกกล่าวแก่พญาสุวรรณพิงคาระ 1               
    ส่วนพญาทั้ง 5 ซึ่งอยู่ ณ เมืองต่างๆ อันได้แก่ พญานันทเสน แห่งเมืองศรีโคตบูร พญาจุลณีพรหมทัต ครองแคว้นจุลมณี พญาอินทปัตถนคร ครองเมืองอินทปัตถนคร พญาคำแดง แห่งเมือง หนองหารน้อย และพญาสุวรรณพิงคาระ เมืองหนองหารหลวง ต่างพากันปั้นดินดิบกว้างยาวเท่ากับฝ่ามือของ พระมหากัสสปะ ก่อแล้วเผาไฟ ตามคำแนะนำของ พระมหากัสสปะ ครั้นปั้นดินเสร็จแล้ว ก็พากันขุดหลุมกว้าง 2 วา ลึก 2 ศอก เท่ากันทั้ง 4 ด้าน เมื่อก่อดินขึ้น เป็นรูปเตา 4 เหลี่ยม สูง 1 วา โดยพญาทั้ง 4 แล้ว พญาสุวรรณภิงคาระ ก็ได้ก่อส่วนบน โดยรวมยอดเข้าเป็นรูปฝาปารมีสูง 1 วา รวมความสูง ทั้งสิ้น 2 วา แล้วทำประตูเตาไฟทั้ง 4 ด้าน เอาไม้จวง จันทน์ กฤษณา กระลำพัก คันธรส ชมพู นิโครธ และไม้รัง มาเป็นพื้น ทำการเผาอยู่ 3 วัน 3 คืน เมื่อสุกแล้วจึงเอาหินหมากคอยกลางโคกมาถมหลุม โดย     พญาจุลณีพรหมทัต ก่อด้านตะวันออก พญาอินทปัตถนคร ก่อด้าน ตะวันตกพญาคำแดง ก่อด้านตะวันตก พญานันทเสน ก่อด้านเหนือ พญาสุวรรณภิงคาระ ก่อขึ้นรวมยอดเข้าเป็นรูปฝาละมี เมื่อสร้างอุโมงค์ เสร็จแล้วพญาทั้ง 5 ก็ได้บริจาคของมีค่าบรรจุ ไว้ในอุโมงค์เป็นพุทธบูชา
    จากนั้น พระมหากัสสปะ จึงได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุเข้า บรรจุภายในที่อันสมควร แล้วให้ปิด ประตูอุโมงค์ไว้ทั้ง 4 ด้าน โดยสร้าง ประตูด้วยไม้ประดู่ ใส่ดาลทั้ง 4 ด้าน แล้วให้คนไปนำเสาศิลาจากเมือง- กุสินารา 1 ต้น มาฝังไว้ที่มุมด้านทิศ เหนือตะวันออก แปลงรูปอัศมุขี (ยักษิณีหน้าเป็นม้า) ไว้โคนต้นเพื่อ เป็นหลักชัยมงคลแก่บ้านเมือง ในชมพูทวีป นำเอาเสาศิลาจาก เมืองพาราณสี 1 ต้น ฝังไว้มุมใต้ตะวันออก แปลงรูปอัศมุขีไว้โคนต้น เพื่อหมายมงคลแก่โลก และได้นำเสาศิลาจากเมืองตักศิลา 1 ต้น ฝังไว้มุมเหนือตะวันตก พญาสุวรรณพิงคาระ ให้สร้างรูปม้าอาชาไนย ไว้ตัวหนึ่งหันหน้าไปทางทิศเหนือเพื่อแสดงว่าพระบรมธาตุเสด็จ ออกมาทางทิศทางนั้น และพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองจากทางเหนือ ลงมาทางใต้ พระมหากัสสปะให้สร้างม้าพลาหกไว้อีกตัวหนึ่งคู่กัน หันหน้าไปทางทิศเหนือเพื่อเป็นปริศนาว่า พญาศรีโคตบูรจักได้สถาปนา พระอุรังคธาตุไว้ 5,000 พระวัสสา เกิดทางใต้และขึ้นไปทางเหนือ เสาอินทขีลศิลาทั้ง 4 ต้น ยังปรากฏอยู่ 2 ต้น ทางทิศตะวันออก ส่วนอีก 2 ต้น ได้ก่อหอระฆังหุ้มไว้ ส่วนม้าศิลาทั้ง 2 ตัว เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2518 องค์พระธาตุได้ทรุดลง และได้บูรณะใหม่แล้วเสร็จในเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2521

อุบลราชธานี

บุรีรัมย์

กาญจนบุรี

สุราษฎร์ธานี

สงขลา


กำลังค้นต้นฉบับภาพ


Advertising Zone    Close
ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...