walker นักเดินทางด้วยเท้า

 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  |  
 ตะกร้าสินค้า (0)

รอบรู้เมืองลาว    เวียงจันทน์   ตำนานโขง  หลวงพระบาง  งานแข่งเรือ  วัดต่างๆ ในหลวงพระบาง  จำปาสัก    โปรแกรมเที่ยวหลวงพระบาง (Root) 2010122_47288.gif 

 

หลวงพระบางเมืองงาม

ฮีตสิบสอง(Root) 2010122_47288.gif คอง 14

ประเพณี 12 เดือน   

(Root) 2010122_40883.jpg
นอกจากวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และภาษาของชาวไทยอีสานกับลาวมีความคล้ายคลึงกันแล้ว งานประเพณีต่างๆ ตลอดปีของลาวก็ดูไม่ต่างกันนัก และเกือบทั้งหมดของงานประเพณีจะเกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนา จนเป็นที่เรียกติดปากกันว่า ฮีตสิบสอง
ฮีต หมายถึง จารีต
สิบสอง หมายถึง เดือนทั้ง 12 เดือนในรอบหนึ่งปี
ในอดีต ประเทศลาวจะมีประเพณีงานบุญต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ พระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมากและในปัจจุบันก็ยังคงมีหลงเหลือ ให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ การจัดงานบุญประเพณีหรือจารีตประเพณี ของชาวลาวนั้นจะเรียกรวมๆ ว่า “ฮีต” งานบุญของชาวลาวนั้นมี ตลอดปี จนมีวรรณกรรมซีไรต์ของลาวเล่มหนึ่งเขียนไว้ว่า1 “ชาวลาวเคร่งจารีต จนไม่ค่อยได้ทำงาน ใน 1 ปีเสียเวลาไปกับการจัดงานบุญ 3 เดือน และยังมีการผูกข้อต่อแขนรับขวัญแขกไปไทยมาอีกประปราย” หากเป็น เช่นสมัย 30 ปีมาแล้วคงเป็นเช่นที่ในหนังสือกล่าวไว้ แต่ในปัจจุบัน ทางรัฐบาลลาวได้ยกเลิกประเพณีบางงานออกไป หรือไม่ก็ย่นย่อระยะ เวลาในการจัดงานให้กระชั้นลง แต่ในความคิดเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้าแล้ว ประเพณีคือจารีตที่งดงามที่บรรพบุรุษได้ถ่ายทอดสู่คนรุ่นหลังจนเป็น วัฒนธรรมที่แสดงความศิวิไลซ์แต่โบราณมา จึงขอหยิบยกมาบอกกล่าว และเพื่อความเข้าใจในงานบุญนั้นๆ ตามขนบ ความเชื่อของชาวลาว

เดือนธันวาคม

บุญเข้ากรรม
    จัดในเดือนธันวาคม ซึ่งอยู่ในช่วงฤดูหนาว จุดประสงค์เพื่อให้ พระภิกษุ เข้าพิธีกรรมปลงอาบัติด้วยการอยู่ในเขตที่จำกัด เพื่อชำระจิตใจ ให้สะอาด
บุญกินเซง
    ประเพณีขึ้นปีใหม่ของลาวสูง (ชาวม้ง)

 เดือนมกราคม

 เดือนยี่บุญคูณลาน

ในภาษาลาวคำว่า ลาน หมายถึง สถานที่ที่ถางหรือ ปัดให้โล่งเป็นสนาม สำหรับคำว่า คูณ  นั้นคือการเพิ่มทวี ดังนั้น บุญคูณลาน จึงหมายถึงงานบุญที่จะเพิ่มทวีผลให้กับลาน ได้แก่ งานบุญ ที่ทำเมื่อขณะที่ได้นำข้าวมารวมกองไว้ที่ลานข้าว เพื่อความเป็นสิริมงคล ให้ได้ข้าวมากทวีกว่าปีก่อนๆ บุญนี้ชาวบ้านได้ประกอบพิธีในเดือนยี่ ก่อนนำข้าวขึ้นเก็บในยุ้ง บางแห่งเรียกงานนี้ว่า บุญกองข้าว หรือบุญเดือนยี่
ความเป็นมา
ชาวลาวในอดีตจะทำการปลูกข้าวไว้กิน เฉกเช่นชาวไทย ดังนั้น เพื่อความเป็นสิริมงคลหลังจากเก็บเกี่ยวแล้วจึงประกอบงานบุญเพื่อ ความอุดมสมบูรณ์ ชาวนาจึงพร้อมใจบำเพ็ญบุญขณะที่ข้าวยังอยู่ กลางลาน มีเรื่องกล่าวไว้ในพระธรรมบทของชาวลาวว่า ในสมัยก่อน พุทธกาลหรือในช่วงสมัยก่อนพระพุทธเจ้าสมณะโคดม มีชาย 2 คนพี่น้อง ได้ทำนาในที่เดียวกัน ในยามที่ข้าวออกรวงโดยคนน้องประสงค์จะทำ ข้าวมธุปายาสไปถวายพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าองค์ก่อน แต่ผู้พี่ ไม่เห็นด้วย ทั้งสองคนจึงแบ่งที่นาเป็น 2 ส่วน และแยกกันทำนา ในที่ของตน เมื่อคนน้องได้ที่นามาครึ่งหนึ่งมาเป็นของตนเองก็ทำนา ตามปรกติ ก็ได้ถวายทานตามความพอใจ ในปีหนึ่งได้ทำทานถึง 9 ครั้ง คือ     1. ก่อนเริ่มทำนา
2. เมื่อข้าวเป็นน้ำนม
3. เมื่อข้าวออกรวง
4. เมื่อเก็บเกี่ยว
5. เมื่อจักตอกมัดข้าวให้มัดข้าวเป็นฟ่อน
6. เมื่อนำข้าวมาฟาดให้ร่วงจากรวง
7. เมื่อเก็บกวาดมารวมไว้กลางลาน
8. เมื่อเก็บใส่ชะลอมหรือภาชนะ
9. ก่อนขนย้ายเข้ายุ้งเข้าบ้าน
ต่อมาในสมัยพระพุทธเจ้าสมณโคดมคนน้องได้เกิดมาเป็นบุตร ของพราหมณ์มหาศาล มีนามว่า “อัญญาโกนธัญญะ” แล้วออกบวชใน พระพุทธศาสนา สำเร็จเป็นปฐมสาวก
ส่วนคนพี่ทำทานปีละครั้งตายไปเกิดมาก็ไม่เคยได้พบเห็น พระพุทธเจ้าทั้งตอนต้น และตอนกลาง แต่ได้มาพบพระพุทธเจ้าก่อน ทรงดับขันธ์ปรินิพาน และได้เป็นพระอริยะสาวกองค์สุดท้ายนามว่า “พระสุพัทธะ” จากเรื่องเล่าข้างต้นชาวนาจึงพากันทำบุญจนกลายมาเป็น ประเพณีใน โดยพิธีจะประกอบกันที่ลานฝัดข้าวหรือในบ้าน นิมนตร์พระ มาสวด บ้างก็ฉลองกันอย่างสนุกสนานข้ามวันข้ามคืน หากแต่ปัจจุบันนี้ ไม่ค่อยได้ปฏิบัติ
 เดือนกุมภาพันธ์
 เดือนสามบุญข้าวจี่   


    เดือนนี้ชาวนาจะเสร็จสิ้นภารกิจจากท้องนาเรียบร้อยแล้ว แต่ชาวลาวยังมีงานบุญที่เกี่ยวกับข้าวอยู่คือ บุญข้าวจี่  คือการนำข้าวเหนียวที่นึ่งสุกมาปั้นเป็นก้อนแล้วเอาไปปิ้งไฟ ทาน้ำมันหมู หรือทาไขอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ได้รสชาติดีขึ้น งานนี้จะจัดในข้างขึ้นหรือ ข้างแรมก็ได้แต่ต้องเป็นเดือนสาม โดยส่วนมาชาวบ้านจะนิยมจัดในคืน วันเพ็ญ
ความเป็นมา
    ตามความเชื่อของชาวลาว ในสมัยพุทธกาลมีข้าทาสของ ตระกูลหนึ่ง ชื่อว่า นางปุณณธาสี  ได้ทำข้าวจี่นำไปถวาย แด่พระพุทธเจ้าและพระอานนท์ พอพระพุทธเจ้าทรงรับไปแล้ว นางเห็น พระพุทธเจ้านำข้าวจี่ส่วนหนึ่งไปให้นกให้กากิน นางคิดในใจว่าข้าวจี่ ที่ถวายไปแล้วนั้นคงจะมีรสไม่อร่อย จึงถามพระพุทธเจ้าว่า “จะทรงเสวย อีกไหม” พระพุทธเจ้าจึงให้พระอานนท์ เรียกนางปุณณธาสีเข้ามาหา ในขณะที่พระพุทธเจ้ากำลังทรงเสวยข้าวจี่อีกส่วนหนึ่ง พร้อมกับได้แสดง พระธรรมเทศนาให้นางฟังว่า นอกจากพระสงฆ์จะได้ฉันข้าวจี่แล้ว สัตว์ บริวารทั้งหลายยังสามารถกินเป็นอาหารได้ ถือว่าเป็นทานที่มิได้จำกัด แต่พระสงฆ์เท่านั้น อานิสงค์ของการถวายข้าวจี่นั้น เป็นอานิสงค์ที่ พุทธบริษัททั้งหลายจะได้นำไปปฏิบัติตามเป็นประเพณีสืบต่อไป
งานบุญข้าวจี่
        สมมุติว่า พรุ่งนี้เช้าจะมีการทำบุญถวายปั้นข้าวจี่ เช้าวันนี้ ชาวบ้านจะจัดหาเครื่องอุปกรณ์ต่างๆ เตรียมไว้ เช่น หาถ่าน หาฟืน หาไม้สำหรับเสียบข้าวจี่เพื่อพรุ่งนี้เช้ามืดจะได้ลุกขึ้นมาทำ โดยจะต้อง ก่อไฟให้เป็นถ่าน แล้วเอาข้าวเหนียวไปโรยเกลือ พอควรย่างไฟจนเหลือง บ้างทาน้ำมันหมู บ้างทาไข่ พอสุกดีแล้วจัดใส่ถาดหรือจาน รอเวลา พระสงฆ์บิณฑบาต หรือนำมารวมกันหลายๆ บ้านแล้วนำไป ถวายพระ ที่วัดหรือที่บ้านใครบ้านหนึ่งเพื่อพระจะมารับไป นับว่าได้บุญกุศลและ เป็นการผูกสัมพันธ์ไมตรี ความสามัคคี ในชุมชนนั้นๆ เดี๋ยวนี้ ประเพณี บุญข้าวจี่ของลาวเกือบจะหมดไปแล้วยังเหลืออยู่เป็นบางพื้นที่เท่านั้น

  บุญมาฆบูชา (วันเพ็ญเดือนสาม)
        ในเดือนสามนี้นอกจากจะมีบุญข้าวจี่แล้ว ยังมีบุญที่สำคัญ อีกอย่างหนึ่งคือ บุญมาฆบูชา จัดขึ้นในวันเพ็ญเดือนสาม และวันเพ็ญ เดือนสามนี้ ได้เกิดสิ่งมหัศจรรย์ ขึ้น 4 อย่างคือ
        1. เป็นวันที่พระอรหันจำนวน1250 รูป ที่พระเวรุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤก
        2. พระสงฆ์เหล่านั้นเป็นพระที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ทั้งนั้น
        3. พระสงฆ์เหล่านั้นมาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย
         4. เป็นวันมาฆบุญพระจันทร์เสวยฤกษ์มาฆะเต็ม
        ฉะนั้น วันนี้จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “จตุรงคสันนิบาต”
งานบุญมาฆบูชา
        ในตอนเช้าก็มีการตักบาตรถวายสังฆทานตามวัดต่างๆ ในตอนเย็นก็ไปชุมนุมกันที่วัด ไหว้พระสวดมนต์ ฟังพระธรรมเทศนา เรื่องโอวาทปติโมก เวียนเทียนรอบโบสถ์ วิหาร เจดีย์ หรือต้นโพธิ์ พร้อมทั้ง ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์  แล้วนำเครื่องสักการะ เข้าไปถวายพระสงฆ์ ปัจจุบันที่วัดพู แขวงจำปาสัก จะมีงานบุญใหญ่ เรียกว่างานบุญขึ้นวัดพู ในวันมาฆบูชาของทุกปี

 เดือนมีนาคม

บุญพระเวส

งานบุญพระเวสหรืองานบุญมหาชาติ จะจัดขึ้นเดือนสี่ข้างขึ้น หรือข้างแรมก็ได้ เช่นเดียวกับงานฟังเทศพระเวสสันดรชาดกอันเป็น ชาดกที่ยิ่งใหญ่ ชาวบ้านจะช่วยกันตกแต่งประดับประดาโรงธรรมด้วย ดอกไม้ ใช้ดอกบัวประดับธรรมมาสน์ มีการจัดรูปขบวนแห่พระเวสสันดร และนางมัทรีออกจากป่าเข้าในเมืองไปสิ้นสุดที่พระอุโบสถ มีการเทศน์ มหาเวสสันดร ตลอดวัน
บุญพระเวทย์ คือบุญฟังเทศน์เรื่องพระเวทย์หรือฟังเทศน์ มหาชาติ ซึ่งหมายถึงชาติที่ใกล้จะได้เป็นพระพุทธเจ้า อันประกอบไปด้วย 1,000 พระธรรมขัณธ์ ฟังแล้วเกิดความศรัทธาความเลื่อมใส บุญพระเวทย์ นิยมทำในเดือนสี่ จะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้  การฟังนั้นผู้ฟังจะรู้เรื่อง หรือไม่รู้ ก็ถือว่าได้บุญทั้งนั้น

เดือนเมษายน

บุญสงกรานต์

บุญสรงน้ำพระ คำว่า “สรงน้ำ” หมายถึงการอาบน้ำหรือฮดน้ำ (รดน้ำ) บุญสรงน้ำ ตามประเพณีนิยมแล้วทำกันในเดือน 5 โดยกำหนด เวลาเดือนหนึ่ง ตั้งแต่ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 บุญสรงน้ำ ที่ชาวลาวยังปฏิบัติอยู่ทุกวันนี้คือสรงน้ำพระพุทธรูป สรงน้ำพระสงฆ์ รดน้ำผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ และระหว่างหนุ่มสาวด้วยกัน จุดมุ่งหมาย ของการรดน้ำคือเพื่อความเป็นสิริมงคล เชิดชูพระพุทธศาสนา และเพื่อ เชื่อมไมตรีจิต มิตรภาพความสามัคคี เนื่องจากน้ำเป็นของเย็นจึงได้ เอามารดกันเป็นสัญลักษณ์แห่งการอยู่เย็นเป็นสุข และความสมบูรณ์ พูลสุขให้หายทุกข์หายร้อน บ้างเรียกกันว่า “บุญเดือน 5” “บุญปีใหม่ลาว” หรือ “บุญตรุษสงกรานต์” (ตรุษ หมายถึง สิ้นปีเก่า) ฉะนั้นตรุษสงกรานต์ จึงหมายความว่าการสิ้นปีเก่าแล้วย้ายเข้าสู่ปีใหม่ กำหนดในทางสุริยคติ คือวันที่ 13-15 เดือนเมษายนของทุกปีหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เปลี่ยนจากราศีมีน เข้าสู้ราศีเมษ
ความเป็นมาของเรื่องสงกรานต์
    ในอดีตกาลมีเศรษฐีผู้หนึ่งไม่มีลูก ปลูกเรือนอยู่ใกล้กับเรือน คนขี้เหล้าซึ่งมีลูกสาวหน้าตางดงาม 2 คน วันหนึ่งคนขี้เมาได้เข้าไปใน เรือนของเศรษฐี แล้วดูหมิ่นดูแคลนเศรษฐีต่างๆ นานา เศรษฐีจึงพูด     ขึ้นว่า “ทำไมเจ้าจึงมาอาละวาดบนเรือนของข้า ทั้งที่เราเป็นผู้ที่มีทรัพย์ สมบัติมากกว่าเจ้ายังไม่เคยไปหมิ่นดูแคลนเจ้าเลย” ชายขี้เมาจึงได้กล่าว ตอบไปว่า “ถึงท่านจะมีทรัพย์สมบัติก็ไม่สำคัญ เพราะท่านไม่มีลูก ตายไป ทรัพย์เหล่านั้นก็เอาไปด้วยไม่ได้ แม้แต่ผู้จะสืบมรดกยังไม่มี ส่วนข้ามีลูก จึงถือว่าเป็นผู้ประเสริฐกว่า” เศรษฐีรู้สึกระอาย ต่ำต้อย และน้อยใจ จึงไปไหว้วอนพระอาทิตย์ พระจันทร์ เป็นเวลา 3 ปี ก็ยังไม่มีลูก อยู่มา วันหนึ่งซึ่งเป็นวันนักขัตฤกษ์สงกรานต์ พระอาทิตย์เคลื่อนย้ายราศีมีน เข้าสู่ราศีเมษ เศรษฐีพร้อมบริวารได้ไปสู่ต้นไทรใหญ่ ที่ริมแมใน้ำ อันเป็นที่อยู่ของนกทั้งหลายเศรษฐีได้เอาข้าวสารมาล้างน้ำถึง 7 ครั้ง เพื่อหุงแล้วยกไปถวายเจ้าต้นไทรแล้วเลี้ยงฉลองต้นไทรหลังจากนั้น จึงตั้งจิตอธิษฐานขอให้ได้ลูก เจ้าต้นไทรเกิดความสงสารจึงเหาะขึ้นไปหา พระอินทร์ พระอินทร์ ทรงแต่งตั้งให้พระธรรมะปาละ ลงมาเกิดเป็นลูก ของเศรษฐี และตั้งชื่อว่า “ธรรมะปาละกุมาร” เศรษฐีดีใจและรักลูกของ เขามาก จึงได้สร้างปราสาท 7 ชั้น อยู่ใกล้ต้นไทรริมแม่น้ำ เนื่องจาก ปราสาทอยู่ใกล้กับเหล่านกกา จึงทำให้ธรรมะปาละกุมารสามารถรู้ ภาษานก ครั้นเมื่ออายุได้ 7 ขวบก็เรียนจบไตรเพท ตามคำภีร์พราหมและ ได้เป็นอาจารย์สอนมงคลแก่คนทั้งหลายตลอดมา
    โลกในยุคนั้นเป็นยุคที่นับถือท้าวมหาพรหมณ์ กบิลพรหม อีกผู้หนึ่งที่มีชื่อเสียงเป็นอาจารย์สอนมงคล เมื่อได้ทราบว่า ธรรมะปาละ- กุมาร เป็นนักปราชญ์ จึงได้ลงมาขอถามปัญหา ในการถามปัญหานั้น มีสัญญากันว่า ถ้าอีกฝ่ายหนึ่งไม่สามารถแก้ปัญหาได้ จะตัดคอเอาหัวของ ตัวเองบูชาอีกฝ่าย ปัญหานั้น มีอยู่สามข้อคือ
    1. ยามเช้าราศีอยู่ที่ไหน
    2. ยามกลางวันราศีอยู่ที่ไหน
    3. ยามค่ำราศีอยู่ที่ไหน
    ท้าวกบิลพรหมให้เวลา 7 วัน แต่ผ่านไป 6 วันแล้ว ธรรมะปาละ- กุมาร ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้จึงคิดที่จะหนีออกนอกปราสาท ครั้นไปถึงใต้ต้นตาลได้ยินนก 2 ตัวผัวเมียพูดกันว่า “พรุ่งนี้เราจะกินอะไร เป็นอาหาร” ผัวก็ตอบว่า “พรุ่งนี้พวกเราจะได้กินเนื้อ” คนเมียก็ถามว่า “จะได้กินเนื้อผู้ใด” ผัวก็ตอบว่า “จะได้กินศพท้าวธรรมะปาละ เพราะ แก้ปัญหาของท้าวกบิลพรหมไม่ได้” นางเมียก็ยิ่งสงสัยเลยถามผัวว่า  “ปัญหานั้นว่าอย่างไร” ผัวก็บอกปัญหา ทั้ง 3 ข้อ ให้ฝ่ายเมียฟังพร้อมกับ คำตอบว่า “ยามเช้าราศีอยู่ที่ไหน” คำตอบคือ “ราศีอยู่ที่หน้า มนุษย์จึง ได้ล้างหน้าในเวลาเช้า ในเวลากลางวันราศีอยู่ที่อก มนุษย์จึงได้เอา เครื่องหอมทาอก ส่วนเวลาค่ำราศีอยู่ที่เท้า มนุษย์ทั้งหลายจึงได้เอาน้ำ ล้างเท้า” เมื่อธรรมะปาละกุมารได้ยินนก 2 ตัวผัวเมียพูดกันเรื่องปัญหานั้น จึงเดินทางกลับเข้ายังปราสาท ครั้นเมื่อถึงเวลาเช้าตามทีได้นัดไว้ กับท้าวกบิลพรหม จึงได้ตอบปัญหาตามที่ได้ยินนกคู่นั้นเจรจา ท้าวกบิลพรหมยอมรับว่าถูกต้องจึงเรียกลูกสาวทั้ง 7 นางมาพร้อมหน้ากัน แล้วพูดว่าพ่อจะตัดคอตัวเองเอาเสียบบูชาท้าวธรรมะปาละกุมาร หากแต่ว่าหัวของพ่อนั้นมีฤทธิ์ศักดิ์สิทธ์ ถ้าเอาไว้บนแผ่นดินก็จะเกิด ไฟไหม้โลก ถ้าจะไว้บนอากาศฝนก็จะไม่ตก ถ้าจะไว้ในมหาสมุทรน้ำ ก็จะแห้งขอด จึงสั่งให้นางทั้ง 7 นำพานมารับเอาหัวไว้ แล้วตัดคอส่งให้ ลูกสาวคนโต ลูกสาวรับเอาเศียรของพ่อแล้วนำไปแห่รอบเขาพระเมรุ 60 นาทีแล้วนำไปประดิษฐานไว้ที่เขาไกรลาศ ครั้นถึงรอบปี ลูกสาวก็จะนำ เศียรของพ่อรอบเขาพระเมรุนั้น 60 นาทีทุกปี สุดแล้วจะถึงวาระของ ลูกสาวคนใด (นางทั้ง 7 ก็คือนางสงกรานต์นั่นเอง)
งานบุญสรงน้ำ   
    ก่อนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 5 ผู้ใหญ่หรือผู้นำชุมชนจะบอกกล่าว ประชาชนให้ไปรวมกันทำบุญสรงน้ำพระ โดยทางวัดจะตีระฆังหรือกลอง ให้ไปชุมนุมกันที่วัด แล้วอันเชิญพระพุทธรูปไปประดิษฐานไว้ ณ ที่โรงธรรมหรือที่หน้าโบสถ์หรือหน้าสิมหรือที่หอพระพุทธรูป ที่สร้างไว้โดยเฉพาะแล้วเอาน้ำอบน้ำหอมไปตั้งไว้ กล่าวคำบูชาดอกไม้ ไหว้พระ ตั้งจิตอธิษฐานขอพร ให้อยู่เย็นเป็นสุขเพื่อความเป็นสิริมงคล แล้วนำน้ำอบน้ำหอมนั้น รดสรงพระพุทธรูป น้ำที่ผ่านจากการสรงพระ นั้นถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ จะรองแล้วนำไปลูบหัวหรือพรมหัวลูกหลาน พรมใส่เรือนชาน ไร่นาวัวควาย

สรงน้ำพระสงฆ์
    เมื่อเสร็จจากการสรงน้ำพระพุทธรูปแล้ว ประชาชนทั้งหลายก็จะ นำน้ำไปรดสรงพระสงฆ์อีกครั้งหนึ่ง เพราะพระสงฆ์เป็นที่เคารพนับถือ และเป็นผู้แนะนำสั่งสอนให้รู้จักบาปบุญคุณโทษ เนื่องในงานเทศกาล ปีใหม่เราก็สรงน้ำรับศีลรับพร พร้อมกันนั้น ก็ไปขอบาสีเพื่อให้อยู่ดีมีแรง ให้มั่นคงอยู่ในบวรพุทธศาสนา
สรงน้ำผู้เฒ่าผู้แก่
    ผู้เฒ่าผู้แก่นั้นเป็นผู้เจริญกว่าเรา และเป็นที่เคารพนับถือเมื่อถึง ยามบุญปีใหม่เราก็ไปคารวะ ตักน้ำไปให้ท่านอาบหรือมีเครื่องนุ่งของใช้ ไปมอบให้ท่านแล้วขอรับศีลรับพร ท่านก็จะอำนวยอวยชัยให้เรามี ความสุขความเจริญ
 ตบทาด (ตบพระทรายหรือตบพระธาตุทราย)
    ในบุญปีใหม่ของลาวนั้นจะมีการตบธาตุทราย ถ้าหากหมู่บ้านใด ติดกับแม่น้ำ เช่น แม่น้ำโขงชาวบ้านริมฝั่งแม่น้ำก็จะพากันไปตบพระธาตุ บริเวณหาดทราย หรือถ้าหากมีหนองน้ำใหญ่ๆ ก็พากันไปทำที่หนองน้ำ นั้น การไปก็นิมนตร์พระสงฆ์ไปฉันท์เพลด้วย การตบธาตุทราย จะก่อ กองทรายกองใหญ่แล้วทำรูปกลมๆ ประดับตกแต่งให้สวยงาม ประดับธง หลังจากนั้นจะมีการเทศน์ฉลองกันอีก ถือว่าได้บุญหลาย แล้วก็พากัน กลับบ้าน ตอนกลับมาก็แห่กันมาอย่างสนุกสนาน รำกันไป สาดน้ำไปด้วย ปัจจุบันมีผู้เข้าร่วมประเพณีการตบธาตุทรายที่ริมน้ำโขงเมืองเซียงแมน ฝั่งตรงข้ามของเมืองหลวงพระบาง       เป็นจำนวนมาก
การปล่อยสัตว์
    เป็นประเพณีของชาวลาว อีกอย่างหนึ่ง เมื่อถึงวันเทศกาลปีใหม่ นอกจากบำเพ็ญกุศล รักษาศีลแล้ว ยังมีการทำบุญโปรดสัตว์หรือปล่อย สัตว์ เช่น นก ปู ปลา หรืออื่นๆ บางคน ก็กำหนดตามจำนวนอายุของตน บางคนปล่อยตามอายุของผู้ที่ตนจะ อุทิศกุศลให้ การปล่อยสัตว์ถือว่า เป็นการไถ่ชีวิตสัตว์นั้น พระพุทธเจ้า ทรงตรัสไว้ว่า “หว่านพืชอย่างใด ย่อม ได้ผลอย่างนั้น” ฉะนั้นการปล่อยสัตว์ นอกจากเทศกาลปีใหม่แล้ว ยังนิยม ปล่อยสัตว์กันในวันคล้ายวันเกิดหรือ ในคราวเจ็บไข้ได้ป่วยเพื่อเป็นการ ต่ออายุ

การจัดงานประเพณีสงกรานต์
ที่หลวงพระบาง

    วันแรกของงานเรียกว่า “วันสงขารล่วง” ชาวหลวงพระบาง จะออกไปจับจ่ายซื้อของและตุง (ธง กระดาษรูปนักษัต) เพื่อนำไปปัก พระธาตุทรายริมแม่น้ำโขง (ฝั่งเมือง เซียงแมน) ตกเย็นมีการลอยกระทง ภายในกระทงบรรจุกล้วย ขิง ข้าวดำ ข้าวแดง ดอกไม้ ใบพลู ธูป เทียน ดอกดาวเรือง ผมและเล็บของผู้ลอย อธิษฐานให้ทุกข์โศกโรคภัยลอยไป กับกระทง
       วันที่สอง เรียกว่า “วันเนา” มีการแห่รูปหุ่นเชิดปู่เยอ ย่าเยอ และ สิงห์แก้ว ผู้เฒ่าผู้แก่ หัวหน้าหมู่บ้าน แต่ละหมู่บ้าน ขบวนพระสงฆ์ และ นางสังขาน (นางสงกรานต์) ขี่สัตว์ พาหนะบนรถแห่อัญเชิญศีรษะท้าว กบิลพรหมไปที่วัดเซียงทอง      
    วันที่สาม เรียกว่า “วันสังขาน ขึ้น” ชาวเมืองหลวงพระบางจะนำ ข้าวเหนียว ขนมหรือลูกกวาด พากัน เดินขึ้นพูสี กลางเมืองหลวงพระบาง ระหว่างเดินจะวางข้าวเหนียวและขนม ไว้ตามหัวเสาบันไดจนถึงองค์พระธาตุ วิธีการนี้เรียกว่าเป็นการตักบาตรพูสี มีการโยนข้าวเหนียวลงป่าข้างองค์ พระธาตุ เป็นการให้ทานแก่สัตว์ต่างๆ  ช่วงบ่ายมีขบวนแห่นางสังขานและ อัญเชิญศีรษะท้าวกบิลพรหมจาก วัดเซียงทองไปยังวัดมหาธาตุ และ มีการสรงน้ำพระ
       วันที่สี่ นับเป็นวันสำคัญอีก วันหนึ่ง จะมีการแห่พระบางเจ้า  โดยจะอัญเชิญออกมาให้ชาวเมือง สรงน้ำ ขบวนแห่วอ (แห่พระบาง) ได้อัญเชิญพระบางเจ้า พระคู่บ้าน คู่เมืองคู่บารมีของชาวหลวงพระบาง มาประดิษฐานที่ประรำพิธีที่วัดใหม่ เยื้องหอพิพิธภัณฑ์ เพื่อให้ประชาชน สรงน้ำ เป็นเวลา 3 วัน 2 คืน (บางปีก็ 2 วัน 1 คืน ตามแต่ทางคณะเถระ พระผู้ใหญ่ของเมืองหลวงพระบาง จะกำหนด) จากนั้นจะอัญเชิญกลับ หอพิพิธภัณฑ์เหมือนเดิม

เดือนพฤษภาคม

บุญบั้งไฟ

    งานบุญบั้งไฟนี้จะจัดก่อน ฤดูกาลทำนามาถึง
    การทำบุญบั้งไฟ เป็นการจุด บูชาเทวดา มเหสักหลักเมือง เพื่อให้ การทำนาอุดมสมบูรณ์ ให้ฟ้าฝนตก ถูกต้องตามฤดูกาล ปีใดที่ไม่มีการ ทำบุญบั้งไฟ เชื่อว่า ในปีนั้นจะเกิดเภทภัยต่างๆ และอีกนัยหนึ่งเป็น สัญญาณบอกว่าฤดูการทำนาจะเริ่มต้นแล้ว นับเป็นงานที่ยึดปฏิบัติกันมา แต่โบราณ กำหนดทำกันในเดือนหก จะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้
งานบุญบั้งไฟ
    เอาไม้ไผ่หรือลำตาลมาลนไฟตากแดดให้แห้งตำดินปืนใส่ จนเต็ม การทำบั้งไฟจะต้องมีช่างที่ชำนาญกำกับคือรู้จักวิธีทำดินปืน เพราะอาจจะทำให้บั้งไฟแตกหรือไม่ไหม้ แม้แต่ช่างบางคนก็อาจ คาดคะเนผิดถึงกับได้รับอุบัติเหตุ บุญบั้งไฟถือว่า สำคัญมากจนต้องมีการ เชื้อเชิญไปยังคุ้มหรือหมู่บ้านต่างๆ ให้มาร่วมกัน ฝ่ายเจ้าภาพจะปลูก ประรำพิธีไว้ การต้อนรับเลี้ยงดูก็แบ่งกันคล้ายๆ กับบุญพระเวท บุญบั้งไฟ จะมีการตั้งกลองบวช กลองรด กลองอัตฐะ ตามแต่ศัรทธาของ ชาวบ้านนั้นๆ ในการนำเอาบั้งไฟเข้าในประรำพิธีจะมีการแห่ร่วมกัน มีการฟ้อนรำอย่างสนุกสนาน บางที่ จะมีการประกวด เช่น การประกวด เสียงบั้งไฟ การประกวดการแต่งกาย ของผู้เข้าร่วมพิธี รวมทั้งการประกวด บั้งไฟ (ประเภทความสวยงาม )
เสียงกลอง
    ในงานบุญบั้งไฟนั้นยังมีการประชันเสียงกลอง “กลองกีง” โดย ตัดสินจากการตีให้ดังหรือนานบางครั้งถึงกับตีกันจนหมดเรี่ยวหมดแรง เป็นการกีฬาสมัยโบราณเพื่อแสดงความสามัคคี

 บุญวิสาขะหรือบุญวันเพ็ญเดือนหก
    วันเพ็ญเดือนหกเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา คือเป็นวัน ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ของพระพุทธเจ้า ฉะนั้นบรรดาชาวพุทธ ที่นับถือพระพุทธศาสนาจึงได้พากันไปประกอบการทำบุญ ให้ทาน รักษาศีล ฟังพระธรรมเทศนา และบำเพ็ญบุญกุศลด้วยวิธีอื่นๆ เพื่อเชิดชู พระพุทธศาสนา

 เดือนมิถุนายน

 บุญซำฮะ (บุญชำระ)

    ในเดือนเจ็ดนี้จะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้ ชาวลาวจะทำ บุญชำระ คำว่า “ชำระ” คือ การล้างทำให้สะอาด เช่น เสื้อผ้าของเรา ไม่สะอาด เปรอะเปรื้อน หรือ เครื่องใช้เป็นต้นว่า หม้อ ถ้วย ชาม เราก็ชำระล้างให้สะอาด รวมทั้งจิตใจที่เศร้าหมอง เราก็ชำระล้างให้สะอาด ผ่องใสด้วยทาน ศีล ภาวนา บ้านเมืองเราจะได้อยู่เย็นเป็นสุข
งานบุญชำระ
    เพื่อเป็นการขับไล่เสนียดจัญไรให้หนีไป เพื่อความสิริสวัสดี เราจึงมีการสวดชำระ มีเรื่องเล่าในพระธรรมบทว่า ครั้งหนึ่งเมืองไทสาลี เกิดความอดอยากเพราะฝนแล้ง ชาวเมืองล้มตาย อันเนื่องมาจาก ความหิวโหย และยังได้เกิดโรคอหิวาระบาด ในเมืองเต็มไปด้วยซากศพ เมื่อชาวเมืองทั้งหลายได้ประสบความพินาจ จึงได้ไปอาราธนาองค์ พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์ 500 รูปจากเมืองราชคฤก มาสู่เมือง ไทสาลีโดยทางเรือใช้เวลาเดินทาง 7 วัน เมื่อเดินทางมาถึงก็เกิดฝนห่าใหญ่ ตกลงมาจนน้ำท่วมและพัดเอาซากศพไหลออกจากเมืองไป ครั้นแล้ว พระองค์ให้พระอานนท์ทำน้ำมนตร์ แล้วนำไปสวดภายในกำแพงเมือง ตั้งแต่นั้นมาเมืองไทสาลีจึงเกิดความอยู่เย็นเป็นสุข ปราศจากโรคภัย ไข้เจ็บ ทุกประการ

 เดือนกรกฎาคม

 บุญเข้าพรรษา

       วันเข้าพรรษา (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) ในภาษาบาลีเรียกได้ 2 อย่างคือ วัสสูปะวาสะกาลเข้าพรรษาและวัสสาวาสะเข้าพรรษา ทั้ง 2 อย่างมีความหมายอย่างเดียวกัน คือ การไม่ได้ไปไหนตลอด 3 เดือนในฤดูฝน นับตั้งแต่งแรม 1ค่ำเดือน 8 ถึงแรม 1ค่ำเดือน 12 ในเทศกาลเข้าพรรษานี้เป็นประเพณีนิยมมาตั้งแต่สมัยโบราณของ ชาวลาวที่นับถือศาสนาพุทธ
งานบุญเข้าพรรษาของพระสงฆ์
สืบเนื่องมาจากประเพณีนิยมของชาวอินเดียในสมัยโบราณ เมื่อถึงฤดูฝนก็จะพักการเดินทางระยะหนึ่ง นอกจากนี้ผู้เป็นนักบวชฤาษี ชีพราหมณ์ ก็จะงดการเดินทาง เช่นเดียวกับพระพุทธเจ้าที่หยุดการ เดินทาง ในฤดูนี้เพราะครั้งหนึ่งมีพระสงฆ์จำนวน 9 รูปไม่รู้จักกาลเวลา เดินไปเหยีบย่ำข้าวกล้าในนาของชาวบ้านตลอดทั้งสัตว์เล็กสัตว์น้อย ตายเกลื่อนกลาด จนผู้คนทั้งหลายกล่าวติเตียนจนในที่สุดความนั้นก็ ได้ทราบถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์จึงได้ทรงบัญญัติ เป็นธรรมเนียมปฏิบัติไว้ว่า นับแต่บัดนี้เป็นต้นไปเมื่อถึงฤดูฝนพระภิกษุ ต้องอยู่จำพรรษาประจำที่ตลอด 3 เดือน เว้นแต่มีเหตุจำเป็นที่วินัย อนุญาตไว้ ด้วยเหตุดังกล่าวมาจึงได้เกิดธรรมเนียมการเข้าพรรษาสืบ มาจนทุกวันนี้
        พิธีสงฆ์ ก่อนจะถึงวันเข้าพรรษา พระสงฆ์ก็จะทำความสะอาด ภายในวัด เช่น เช็ด ถู กุฏิ วิหาร ซ่อมแซมกุฏิวิหารที่เก่า และชำรุด ทรุดโทรม ให้สะอาดเป็นสภาพที่ใช้ได้ ทั้งนี้เพื่อจะได้สะดวกใสการบำเพ็ญ สมณะกิจ นอกจากนี้ตามประเพณีนิยมแล้วพระสงฆ์ตามวัดต่างๆ จะจัดหาเครื่องสักการะไปขอขมาพระอุปชา อาจารย์หรือพระเถระผู้ใหญ่ เพื่อขอให้ยกโทษ อโหสิกรรมในการล่วงเกินในวาระต่างๆ เพื่อจะได้ ระวังในคราวต่อไป ครั้นถึงวันเข้าพรรษาพระสงฆ์ก็จะชุมนุมกันในโบสถ์ วิหารเพื่อไหว้พระสวดมนตร์ เสร็จแล้วก็พากันอธิฐานคำเข้าพรรษา
       พิธีของฆราวาส เนื่องในวันเข้าพรรษานี้พุทธศาสนิกชน จะมีพิธีกรรมต่างๆ โดยการจัดหาเครื่องสักการบูชาหรือเครื่องปัจจัย ไทยทานต่างชักชวนลูกหลานไปวัดไหว้พระสวดมนตร์ รับศีล ฟังเทศน์ เวียนเทียนรอบโบสถ์วิหาร เสร็จแล้วนำเครื่องสักการบูชาเข้าไปถวาย พระสงฆ์สามเณร นอกจากนี้แล้วบางคนก็ถวายปวาระณาตัวบำรุง พระศาสนาด้วยปัจจัย 4 ตลอดเข้าพรรษา
การถวายผ้าอาบน้ำฝน
        การถวายผ้าอาบน้ำฝน จัดเป็นประเพณีนิยมอย่างหนึ่ง ที่ชาวพุทธได้ปฏิบัติกันมาโดยประมาณวันขึ้น 14 หรือ 15 ค่ำเดือน 7 หากพ้นกำหนดนี้แล้วจะไม่มีการถวายผ้าอาบน้ำฝน นอกจากนี้แล้ว ในพระวินัยได้กำหนดขนาดกว้างยาวของผ้าไว้อย่างนี้  กว้าง 2 ศอก 1นิ้ว 1กระเบียด กับ 2 อนุกระเบียด ยาว 4 ศอกกับ 3 อนุกระเบียด
มูลเหตุของการถวายผ้าอาบน้ำฝน
        แต่เดิมนั้นพระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้พระสงฆ์ใช้ผ้าได้เพียง      3 ผืน คือ สังฆฏิ (ผ้าพาดบ่า) จีวร (ผ้าคลุม) และสบง (ผ้านุ่ง) ยังไม่ได้ อนุญาตให้ใช้ผ้าอาบน้ำเลย เมื่อถึงเวลาฝนตกพระสงฆ์สามเณรประสงค์ จะอาบน้ำฝน ก็ไม่มีผ้านุ่งอาบ จึงเปลือยกายอาบน้ำฝน วันหนึ่งสาวใช้ของ นางวิสาขะไปที่วัดขณะที่ฝนกำลังตก นางได้เห็นพระภิกษุเปลือยกาย อาบน้ำ นางจึงได้เอาเรื่องมาบอกแก่ นางวิสาขะ นางวิสาขะจึงได้กราบทูล เรื่องนี้แก่พระพุทธเจ้า เพราะเห็นว่า เป็นภาพที่ไม่สมควร พร้อมนั้นนาง ก็ได้ถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่พระภิกษุ ทั้งหมด จึงมีประเพณีการถวายผ้า- อาบน้ำฝนตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

 เดือนสิงหาคม
 บุญข้าวประดับดิน


คำว่า “ข้าวประดับดิน” หมายถึง ข้าวปลาอาหารคาวหวาน บุหรี่ หมาก พลู ใส่ลงในกรวยใบตอง ที่ทำเป็นห่อๆ แล้วนำไปวางตาม ศาลา โรงธรรม ตามข้างโบสถ์ ข้างวิหาร ห้อยแขวนไว้ตามต้นไม้ หรือไม่ก็วางไว้ตามพื้นดิน ตามหญ้า ทำให้เรียกว่าข้าวประดับดิน บุญข้าว ประดับดินจะนิยมทำในข้างแรมของ เดือน 9 โดยมีจุดประสงค์เพื่ออุทิศ กุศลบุญให้เปรตหรือผีที่ไม่มีญาติ เพื่ออนุโมทนาในส่วนบุญกุศลจะได้ ไปเกิดตามยถากรรมของแต่ละตน ในวันนั้นแม้แต่นกกา หมู หมา ก็จะอิ่มหนำสำราญกันทั้งนั้นเพราะ ต้นไม้ต่างๆ ทั้งในวัด และนอกวัด จะดารดาษไปด้วยข้าวประดับดิน เนื่องจากบุญนี้นิยมทำกันในเดือน 9 ดับ ชาวลาวจึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “บุญเดือน 9 ดับ”
มูลเหตุงานบุญข้าวประดับดิน
       ในอดีตกาลญาติพี่น้องของ พระเจ้าพิมพิศาลได้ไปวัดแล้วลักกิน ของสงฆ์ คือ ไม่ได้ขอกิน เมื่อตายแล้ว ไปเกิดเป็นเปรตอดอยาก อาหารไม่มี จะกินวันหนึ่งพระเจ้าพิมพิศาลถวาย ทาน แต่ไม่ได้อุทิศผล ส่งไปให้พวก เปรตญาติที่ไม่ได้ผลทานต่างก็แสดง ปฏิกิริยาร้องไห้ส่งเสียงแก่พระเจ้า พิมพิศาล พระเจ้าพิมพิศาลจึงนำ ความกราบทูลพระพุทธเจ้าทราบ พระพุทธเจ้าทรงตรัสบอกเรื่องราว ต่างๆ ให้พระเจ้าพิมพิศาล ดังนั้น จึงได้ทำบุญทำทานอุทิศผลส่งไปให้ จึงจัดทำป็นประเพณีสืบเนื่องกันมา จนปัจจุบันนี้
ส่วง หมายถึง แข่งขัน    gInv (เฮือ) หมายถึง เรือ
เป็นงานบุญแข่งเรือประจำ เดือนเก้า ทุกคุ้ม ทุกหมู่บ้าน จะนำเรือ เข้าแข่งขัน ในอดีตการแข่งเรือถือเป็น การฝึกซ้อมฝีพายเพื่อเตรียมพร้อม สู้กับข้าศึกที่จะมาทางน้ำหลังสิ้นฤดูฝน
ปัจจุบันเป็นงานบุญประเพณี สำคัญ และสนุกสนานโดยใช้น้ำคาน เป็นแม่น้ำจัดการแข่งขัน และลดขนาด เรือจากที่หนามาเป็นเรือบางสำหรับ แข่งความเร็ว

 เดือนกันยายน
บุญข้าวสลาก

    จะจัดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10
จุดประสงค์ของการจัดงาน เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้คนตายหรือ เปรต ห่างจากงานวันบุญข้าวประดับดิน 15 วัน อันเป็นเวลาที่เปรตต้อง กลับไปยังที่อยู่ของตน
คำว่า “สาก” มาจาก สลากหรือฉลาก การทำบุญข้าวสลากนี้ คือการเขียนชื่อพระภิกษุสามเณรใส่ลงในสลากแล้วให้พ่อออก แม่ออก จับสลากนั้นขึ้นมา ผู้ใดจับได้ชื่อพระภิกษุ สามเณรองค์ใดก็ถวายปัจจัย ตามที่ได้จับสลากได้ การทำบุญชนิดนี้ ชาวลาวนิยมทำกันเป็นประจำ และ บุญนี้กำหนดทำกันในวันเพ็ญเดือน 10 จึงเรียกว่า “บุญเดือน 10” ทางภาคเหนือ อิสานบ้างเรียก "สลากภัต"
มูลเหตุงานบุญข้าวสลาก
ในอดีตกาล มีเศรษฐีตระกูลหนึ่ง มีบุตรชายกำพร้าบิดา เหลือแต่ มารดา ครั้นเมื่อโตเป็นหนุ่มมารดาจึงหาภรรยาให้อยู่กินกันมาเป็น เวลานานก็ไม่มีลูกเนื่องจากเมียเป็นหมัน มารดาจึงได้หาเมียน้อยให้ ครั้นฝ่ายเมียหลวงเห็นดังนั้น จึงเกิดความอิจฉาริษา เกรงว่ามรดกจะตก เป็นของลูกเมียน้อย จึงได้บอกกับเมียน้อยไว้ว่า หากตั้งท้องให้บอกกับตน แล้วเมื่อเมียน้อยตั้งท้องที่ 1 นางได้บอกกับเมียหลวง ฝ่ายเมียหลวง จึงคิดกลอุบายโดยการใส่ยาพิษในอาหารให้กับเมียน้อยกินจนทำให้ลูก ในท้องของเมียน้อยแท้ง  และครั้งที่ 2 ก็เช่นกัน ส่วนครั้งที่ 3 เมียน้อย ก็ได้บอกกับเมียหลวงแต่ว่าได้หนีไปพักอาศัยกับญาติพี่น้อง ฝ่ายเมียหลวง ก็ตามไปวางยาพิษอีก แต่ครั้งนี้เด็กในท้องได้โตพอสมควรแล้วจึงทำให้ ทั้งเด็ก และเมียน้อยตายลง ก่อนตายเมียน้อยได้ผูกเวรไว้ว่าหากเกิดใหม่ ชาติหน้าขอเป็นยักษ์ขิณีมาคาบลูกของเมียหลวง และต่อมานางได้เกิด เป็นแมว ส่วนเมียหลวงได้เกิดเป็นแม่ไก่ แมว (เมียน้อย) ได้กินไข่ไก่ไป 2 ฟองและครั้งที่ 3 ก็ได้กินแม่ไก่ด้วย เมียหลวงจึงผูกเวรอาฆาต ชาติต่อมา เมียหลวงได้เกิดเป็นเสือเหลือง (เสือโคล่ง) ส่วยเมียน้อยได้เกิดเป็นเนื้อ (วัว) เสือเหลืองได้กินลูกวัวไป 2 ตัว และครั้งที่ 3 ก็ได้กินแม่วัว เมียน้อย ได้ผูกเวรอาฆาตต่อกันอีก ชาติต่อมาก็ได้เกิดเป็นยักษ์ขิณี ฝ่ายเมียหลวง ได้ไปเกิดเป็นกุลธิดาแห่งเมืองสาวัตถี กุลธิดามีบุตร 2 คนก็ได้ถูก นางยักษ์ขิณีกิน ครั้นมีลูกคนที่ 3 จึงได้หนีออกมาจากเมืองสาวัตถี เพื่อเดินทางไปหาพระพุทธเจ้าที่พระเชตะวันมหาวิหาร ขณะนั้น พระพุทธเจ้ากำลังแสดงธรรมอยู่ได้ทอดพระเนตรเห็น 2 ผัวเมียวิ่งอุ้มลูก เข้ามาหา ส่วนนางยักษ์ขิณีนั้นยืนอยู่ข้างนอก พระองค์ทรงตรัสให้ พระอานนท์ไปตามนางยักษ์ขิณีเข้ามาแล้วทรงแสดงพระธรรม เกี่ยวกับ โทษแห่งความผูกพยาบาทจองเวรกันโดยใจความว่า "เวรของผู้จองเวร ย่อมไม่ระงับลงไปได้ คือ เป็นเวรกันอยู่ เช่น แมวกับหนู งูเห่ากับพังพอน เป็นกรรมเป็นเวร กันอยู่" จึงมีการใส่บาตรโดยไม่ได้เลือกผู้รับหรือเจาะจงกับพระ หรือพระไม่เจาะจงที่จะรับจากฆารวาสคนใดคนหนึ่งโดยตรง ด้วยความที่หากเป็นคูพยาบาทกันมาแต่ปางก่อนจะได้อโหสิกรรมกัน 
 เดือนตุลาคม
บุญออกพรรษา

    จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11
    จะมีการตักบาตรเทโว มีการจัดภัตราหารไปถวายพระภิกษุ สามเณร มีการกวนข้าวทิพย์ (กระยาสารท) มีการถวายผ้าจำนำพรรษา และปราสาทผึ้ง โดยการนำไม้ไผ่มาสานเป็นรูปปราสาท ตกแต่งสวยงาม จัดขบวนแห่ปราสาทผึ้งไปถวายพระในตอนค่ำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ ผู้ล่วงลับ
ไหลเรือไฟ
    เป็นประเพณีที่สำคัญอย่างหนึ่ง จะจัดในช่วงวันออกพรรษา เพื่อรำลึกถึงพระคุณบิดา มารดา และบูชาพระรัตนตรัย โดยนำลำไม้ไผ่ มาผูกต่อกันเป็นแพแล้วขึงราวหรือรางเพื่อจุดไฟแล้วปล่อยให้ไหล ไปตามลำน้ำ ชาวลาวเรียกว่า “เรือไฟ”
มูลเหตุของงานบุญไหลเรือไฟ
    ในอดีตกาลมี 2 ผัวเมียพญากาเผือก ทำรังอยู่บนต้นมะเดื่อ ริมแม่น้ำคงคา นางพญากาเผือกได้ออกไข่มา 5 ฟอง ขณะกกไข่อยู่นั้น ได้เกิดพายุ ฝนตกหนัก ลมกรรโชกแรงจนไข่ทั้ง 5 ฟองหล่นลงน้ำ
    ฟองที่หนึ่ง พญากุสันโท (ไก่) เห็นไข่ไหลมาติดที่ท่าน้ำของตน จึงนำไปฟัก ฟองที่สอง พญาโกนาคมโน (นาค) เห็นไข่ไหลมาติดที่ ท่าน้ำของตนจึงนำไปฟัก ฟองที่สาม พญากัสสโป (เต่า) เห็นไข่ไหลมาติด ที่ท่าน้ำของตนจึงนำไปฟัก ฟองที่สี่ พญาโคตโม (วัว) เห็นไข่ไหลมาติดที่ ท่าน้ำของตนจึงนำไปฟัก ฟองที่ห้า พญาราชสีห์อริยเมตตโย (สิงห์) เห็นไข่ไหลมาติดที่ท่าน้ำของตนจึงนำไปฟัก โดยไข่ทั้งห้าฟองนั้นได้ฟัก ออกมาเป็นมนุษย์ เมื่อโตขึ้นคิดอยากจะออกบวชเป็นพระศรีมหาโพธิสัตว์ แต่ก่อนบวชทั้งห้าคนมีความประสงค์ที่จะออกตามหาผู้เป็นบิดา มารดา ที่แท้จริงก่อน
    วันหนึ่งชายทั้งห้าได้มาพบกันและสนทนากันจนทราบว่าทั้งห้า ต่างมีวัตถุประสงค์เดียวกัน คือ จะออกบวช และกำลังออกตามหาบิดา มารดา พญากาเผือกทั้งสองผัวเมียจึงแสดงตนออกมา และบอกกล่าวว่า เป็นบิดา มารดาของชายทั้ง 5 คน และเล่าเหตุการณ์ให้ลูกๆ ฟัง ก่อนที่ พญากาเผือกทั้ง 2 จะกลับสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลูกชายทั้งห้าได้กล่าวให้ บิดา มารดาเหยียบแผ่นศิลาและทิ้งรอยเท้าไว้ เพื่อที่ลูกทั้ง 5 จะได้ไว้ กราบไหว้ บูชา ในพระคุณของผู้ให้กำเนิด
    พญากาเผือกจึงได้บอกกับลูกทั้ง 5 ว่า เมื่อถึงคืนเพ็ญเดือน 11 ให้ถักเชือกฝ้ายเป็นรู้ตีนกา ใส่ถ้วย ชาม หรือจาน เทน้ำมัน เอาไปวางบน ไม้ไผ่ที่ผูกต่อเป็นแพ แล้วจุดไฟ เพื่อบูชา แล้วปล่อยเรือลอยไปตามแม่น้ำ ลูกทั้ง 5 ได้ตั้งชื่อตามผู้ที่เก็บไปเลี้ยง คือ กกุสันโท โกนาคมโน กัสสโป โคตโม อริยเมตตโย ดังนั้น จึงมีชื่อเรือที่ทำพิธีไหลเรือไฟตามชื่อทั้ง 5 นี้
       ปัจจุบันที่หลวงพระบางมีการทำเรือไฟบก สำหรับวัดที่ไม่ติดน้ำ และเรือไฟน้ำ สำหรับวัดที่ติดน้ำ โดยเรือไฟน้ำนั้นจะประกอบพิธีที่วัด เซียงทอง และเนื่องจากท่าน้ำวัดเซียงทองอยู่ทางต้นน้ำของเมือง หลวงพระบาง จึงมีประชาชนนิยมไปประกอบพิธีที่นั้นเป็นจำนวนมาก
เรือไฟบก
    จะจัดทำขึ้นตามซุ้มวัดต่างๆ ที่ไม่มีท่าน้ำ เช่น วัดมหาทาด วัดใหม่ เป็นต้น โดยพระ สามเณร และชาวบ้านในละแวกนั้นจะทำโคม คล้ายๆ กับโคมลอย โดยทำจากกระดาษแก้วหรือกระดาษสาเป็นวง ทรงกระบอกหลากสีสัน บ้างทำลวดลายสวยงาม นำไปประดับตาม ราวไม้ไผ่ที่ทางวัดจัดทำไว้ บ้างก็นำไปผูกห้อยตามซุ้มต้นไม้ เมื่อถึง เวลาค่ำก็จะจุดไฟใต้โคมนั้น ปัจจุบันนิยมใช้หลอดไฟแทนการจุดไฟ จากเทียนหรือตะเกียงน้ำมัน จึงทำให้เมืองหลวงพระบางมีความสวยงาม ในยามค่ำคืน
เรือไฟน้ำ
    เรือไฟน้ำนั้นทำคล้ายๆ เรือไฟบกแต่ทางวัดจะทำแพด้วยไม้ไผ่ ลำยาว ผูกให้หัวเชิดท้ายเชิด เอากาบกล้วยมาวาง เมื่อถึงเวลาค่ำ พระ เณร จะตีฆ้องร้องเป่าประกาศให้ ญาติ โยมและชาวบ้านมารวมตัวกันเพื่อ จุดไฟโคม หรือจานตะเกียงน้ำมัน แล้วนำไปวางบนกาบกล้วยในเรือไฟ นั้นๆ หลังจากนั้น ก็จะทำการไหลเรือไฟ เมื่อเรือลอยออกจากท่าน้ำ ชาวบ้านจะโห่ร้อง “ไชโย ไชโย” เพื่อความเป็นสิริมงคล ในขณะเดียวกัน ก็จะมีการประโคมกลองและฆ้องเสียงดังเป็นที่สนุกสนาน ท่าน้ำที่ชาว หลวงพระบางนิยมมาไหลเรือไฟคือที่ ท่าน้ำวัดเซียงทอง 
  เดือนพฤศจิกายน
 บุญกฐิน
    จะนิยมจัดในช่วงแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึง คืนเพ็ญ เดือน 12?โดยจะมีการเป็นการถวายผ้าแด่พระสงฆ์ที่จำพรรษามาตลอดพรรษา นับเป็นงานบุญที่กระทำกันมาแต่โบราณ นอกจากนี้ ในคืนเพ็ญเดือน 12 ที่เวียงจันทน์จะมีงานบุญนมัสการพระธาตุหลวง

(Root) 2010122_47288.gif

คอง 14 หรือ ครองสิบสี่

ครอง เป็นคำที่ตรงกับภาษาอีสาน ว่า “ คอง ” หมายถึงแนวทาง หรือ ทำนองคลองธรรม

สิบสี่ คือ แนวทางที่พึงปฏิบัติ 14 ข้อ

ครองสิบสี่ คือ ครองธรรม 14 อย่าง เป็นแนวทางที่ใช้ปฏิบัติระ หว่างผู้ปกครองกับผู้อยู่ใ ต้ปกครอง หรือระหว่างคนธรรมดาปฏิบัต ิต่อกัน ได้แก่

1. ฮีตเจ้าครองขุน หมายถึง เป็นฮีตของพระเจ้าแผ่นดินห รือพระมหากษัตริย์ผู้ครองเ มือง ที่จะต้องปฏิบัติตามระเบีย บแบบแผนที่มีมาแต่โบราณ เช่น การปฏิบัติตามทศพิธราชธรรม ปกครองดูแลไพร่ฟ้าประชาชนใ ห้อยู่เย็นเป็นสุขโดยทั่วก ัน


2. ฮีตท้าวครองเพีย หมายถึง เป็นฮีตของเจ้านายชั้นผู้ใ หญ่แต่โบราณ เพื่อให้ปฏิบัติตามครองขุน หรือจารีตที่เคยปฏิบัติมา โดยยึดหลักธรรมทางศาสนาเป็ นที่ตั้งอันเป็นแนวทางปกคร อง โดยเป็นธรรมแก่ประชาชน

3. ฮีตไพร่ครองนายไพร่
หมายถึง นายเป็นฮีตของประชาชนทั่วไ ปที่พึงปฏิบัติตามกฎหมายบ้ านเมืองและคำสั่งของเจ้านา ย ซึ่งเป็นนายจะต้องปฏิบัติต ามหน้าที่และเป็นที่พึ่งขอ งประชาชน


4. ฮีตบ้านครองเมือง
หมายถึง การรู้จักปฏิบัติขนบธรรมเน ียมประเพณีที่ปฏิบัติในแต่ ละท้องถิ่น เพื่อให้เกิดความสามัคคีรั กใคร่กลมเกลียวและมีการเลี ้ยงชีพโดยสุจริต


5. ฮีตปู่ครองย่า หมายถึง ตาครองยาย ผู้เป็นปู่ ย่า ตา ยายา นั้น ชาวอีสานเรียกว่า พ่อใหญ่ แม่ใหญ่ พ่อตู้ แม่ตู้ ซึ่งเป็นผู้ที่ลูกหลานให้ค วามเคารพนับถือ จึงต้องปฏิบัติตนในสิ่งที่ งามและมีเมตตาธรรม


6. ฮีตผัวครองเมีย หมายถึง แนวทางที่สามีและภรรยาปฏิบ ัติต่อกันเพื่อให้การอยู่ร ่วมกันในครอบครัวเป็นไปอย่ างราบรื่นและเป็นปกติสุข


7. ฮีตพ่อครองแม่ หมายถึง แนวทางที่ผู้เป็นพ่อและเป็ นแม่พึงปฏิบัติต่อลูกในทาง ที่เป็นประโยชน์แก่ลูก นับตั้งแต่การเลี้ยงดูให้เ ติบใหญ่และการแนะนำอบรมในส ิ่งที่ดีงามห้ามปรามมิให้ก ระทำชั่ว


8. ฮีตสะใภ้ครองเขย หมายถึง เป็นข้อปฏิบัติสำหรับผู้เป ็นสะใภ้และลูกเขย ด้วยการปฏิบัติให้เป็นไปตา มขนบธรรมเนียมและหน้าที่ เช่น ลูกสะใภ้ต้องรักและเคารพปู ่ ย่า ส่วนลูกเขยต้องรู้จักทำงาน ขยันขันแข็งในการประกอบอาช ีพ และทำตนให้เป็นที่รักของพ่ อตาและแม่ยาย


9. ฮีตป้าครองลุง หมายถึง เป็นข้อปฏิบัติของผู้เป็นป ้า ลุง น้า อา และพี่ ซึ่งเป็นญาติอาวุโส ด้วยการวางตนให้เหมาะสม มีเมตตากรุณา และเป็นที่พึ่งของญาติพี่น ้องและลูกหลาน


10. ฮีตลูกครองหลาน หมายถึง เป็นแนวทางที่ผู้เป็นลูกแล ะเป็นหลานพึงปฏิบัติ เช่น เคารพเชื่อฟังคำสั่งสอนของ พ่อแม่ ตลอดจนให้ละเว้นการกระทำชั ่ว ประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่ด ีงานให้สมกับคำที่เรียกว่า เป็นลูกแก้วหลานแก้ว


11. ฮีตเฒ่าครองแก่ หมายถึง เป็นข้อปฏิบัติของคนชราหรื อผู้สูงอายุ ด้วยการวางตนให้เหมาะสมกับ ที่เป็นผู้หลักผู้ใหญ่โดยย ึดมั่นในศีลธรรม ประพฤติตนเป็นคนดี ให้เป็นประโยชน์แก่ลูกหลาน


12. ฮีตปีครองเดือน หมายถึง การปฏิบัติตามจารีตประเพณี ต่าง ๆ ตามที่นิยมจัดทำกันในรอบ ๑๒ เดือน ซึ่งกำหนดไว้ในฮีต ๑๒ โดยหลักทางศาสนาเป็นสำคัญแ ละร่วมกันจัดทำมิให้ละเลย นับว่าเป็นการปฏิบัติตามปร ะเพณีและวัฒนธรรมที่ดีงาม


13. ฮีตไฮ่ครองนา หมายถึง เมื่อถึงฤดูกาลทำไร่ทำนา ก่อนลงมือทำจะมีการเลี้ยงต าแฮก คือ ทำพิธีปลูกข้าวที่ตาแฮก ด้วยการร่วมมือช่วยเหลือซึ ่งกันและกัน ให้ได้ผลดีทันตามฤดูการ


14. ฮีตวัดครองสงฆ์ หมายถึง เป็นแนวปฏิบัติที่เกี่ยวกั บวัดวาอารามและพระภิกษุสาม เณร สำหรับชาวบ้านก็ต้องปฏิบัต ิต่อวัดและพระสงฆ์ ส่วนพระภิกษุสามเณรก็ถือปฏ ิบัติให้ถูกต้องตามหลักพระ ธรรมวินัย

 (Root) 2010122_40844.jpg เหนื่อยไหมล่ะ ขาตั้งกล้องเอย กล้องฟิล์ม กล้องดิจิตัล ...เอาไปทำไมรุงรัง(Root) 2010122_47288.gif

Advertising Zone    Close
ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...